วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

6.การตั้งสมมติฐานการวิจัย

                 http://itcstatistic.blogspot.com/2009/05/1.html กล่าวว่า สมมติฐานเป็นความคาดหวังในผลที่จะเกิดขึ้นจากการวิจัย เป็นการนำคำอธิบายของทฤษฎีมาทำนาย การเขียนเป็นการนำปัญหาการวิจัยมาเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของคำตอบที่คาดเดาไว้อย่างมีเหตุผล สมมติฐานเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระบวนการค้นหาความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ การตั้งสมมติฐานใช้วิธีการของการอุปมานซึ่งเน้นการสังเกต และการอนุมานซึ่งเน้นการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์สิ่งที่สังเกตได้ การทำวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ จะมีสมมติฐานหรือไม่ขึ้นกับระเบียบวิธีวิจัย ถ้ามีสามารถตั้งได้อย่างน้อยหนึ่ง สมมติฐานหรืออาจมากกว่าหนึ่งได้ การตั้งสมมติฐานการวิจัย เป็นการปรับปัญหาการวิจัยที่อยู่ในรูปของแนวคิดให้เชื่อมโยงกันในรูปของตัวแปร ทำได้โดยผู้วิจัยได้ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและประเมินมาดีแล้ว ผนวกกับความรู้ประสบการณ์ของผู้วิจัย แล้วกำหนดเป็นประโยคสมมติฐานที่ดีเหมาะสมกับปัญหา สมมติฐานมี 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ สมมติฐานทางสถิติและสมมติฐานการวิจัย ซึ่งมีหลักการตั้งสมมติฐานทั้ง 2 แบบ คือ แบบอุปมาน (Inductive logic) และแบบอนุมาน (deductive logic) สมมติฐานต้องตั้งขึ้นก่อนเก็บข้อมูลและสมมติฐานตั้งขึ้นไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไป อาจผิดได้ขึ้นกับข้อเท็จจริงของข้อมูล การสมมติฐานที่ตั้งขึ้นสามารถบอกระบุทิศทางได้ชัดเจนจะสามารถเลือกสถิติแบบทดสอบทางเดียว (one - tailed test) ซึ่งจะมีอำนาจการทดสอบ (power of test) สูงกว่าการทดสอบแบบสองทาง
                               จุดมุ่งหมายในการตั้งสมมติฐาน
                                 1. เพื่อเป็นการเชื่อมโยงทฤษฎีและข้อเท็จจริงที่สังเกตพบ 
                                  2. เป็นการขยายขอบเขตของความรู้ เนื่องจากเขียนสมมติฐานจากการอนุมานทฤษฎี เพื่อสรุปเป็นข้อค้นพบ เป็นการขยายขอบเขตความรู้
                                  3. เป็นเครื่องช่วยชี้ทิศทางของการวิจัยให้ชัดเจนขึ้น

                 ลักษณะของสมมติฐานที่ดี
                                   1. ต้องระบุความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาคาดหมายล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้น โดยอยู่ในรูป "แตกต่างกัน" "มากกว่า" "น้อยกว่า" "สัมพันธ์กัน" "ขึ้นอยู่กับ" เป็นต้น
                                   2. ความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงสามารถทดสอบได้ นั้นคือตัวแปรที่ศึกษาต้องวัดไว้ สังเกตได้ และความสัมพันธ์นั้นวิเคราะห์ได้ด้วยวิธีทางสถิติ
                                   3. ความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงมีเหตุผลเหมาะสมสอดคล้องกับผลการวิจัยและทฤษฎีที่นำมาเป็นกรอบความคิดในการวิจัย
                                   4. ประโยคที่เป็นสมมติฐานต้องแสดงความเป็นเหตุเป็นผลที่เหมาะสม น่าเชื่อถือได้
                            หลักการเขียนสมมติฐานทางการวิจัย
                                    1. เขียนเป็นประโยคบอกเล่า ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ระบุทิศทางหรือไม่ขึ้นกับเหตุผลทฤษฎีที่นำมาใช้เป็นกรอบในการทำวิจัย
                                    2. เขียนเป็นประโยคสั้นๆ ภาษาเข้าใจง่าย ระบุความหมายชัดเจนในแง่การวัดมากที่สุด
                                    3. เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องในกรอบการวิจัยเรื่องนั้น ๆ
                                    4. อาจเขียนได้หลายข้อ ในปัญหาวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ
                                    5. สมมติฐานทุกข้อที่ตั้งขึ้นต้องทดสอบได้
                                    6. สมมติฐานควรเขียนเรียงลำดับสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย


http://www.stks.or.th/blog/?p=2385 กล่าวว่า คำว่าสมมติฐานที่นำมาใช้ในการวิจัยนั้น หมายถึง ความคาดหวังเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ได้จากการสรุปเป็นการทั่วไป ที่หวังว่าตัวแปร 2 ตัวหรือหลายตัวจะมีความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งสมมติฐานที่ดีจะต้องประกอบด้วยเกณฑ์สองอย่าง คือ
                           1. สมมติฐานต้องเป็นข้อความแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
                            2. สมมติฐานจะต้องชัดเจน และสามารถทดสอบความสัมพันธ์ดังกล่าวได้ หากข้อความขาดคุณสมบัติดังกล่าวก็จะไม่ใช่สมมติฐาน
สมมติฐานจัดว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากอย่างหนึ่งในการวิจัยเพราะเป็นแหล่งเชื่อมโยงระหว่างปัญหากับข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่จะตอบปัญหา สมมติฐานยังเป็นเสมือนแนวทางในการสำรวจปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับปัญหาที่กำลังทำการสืบค้นอยู่นั้น ความสำคัญของสมมติฐานพอจะประมวลได้เป็นข้อๆ ดังนี้
           1. การชี้ให้เห็นปัญหาชัดเจน 
                         2. สมมติฐานช่วยกำหนดความเกี่ยวข้องระหว่างข้อเท็จจริง ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์
                         3. สมมติฐานเป็นตัวชี้การออกแบบการวิจัย
                         4. สมมติฐานช่วยอธิบายปรากฏการณ์ การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์นั้นไม่ใช่เป็นเพียงการรวบรวมข้อเท็จจริงและจัดพวกตามคุณสมบัติผิวเผินของข้อเท็จจริงเหล่านั้น
                         5. สมมติฐานช่วยกำหนดขอบเขตของข้อยุติ


http://petcharawadee3.blogspot.com/2008/12/blog-post.htm  กล่าวว่า สมมุติฐานเป็นการคาดคะเนคำตอบของการวิจัย ไว้ล่วงหน้าอย่างสมเหตุสมผล มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ
                         1. แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป
                         2. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
                         3. ทดสอบได้ด้วงวิธีทางวิทยาศาสตร์ หรือสถิติ
            โดยต้องทำการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่จะทำวิจัย จนเกิดความชัดเจนในปัญหา และเห็นแนวทางของคำตอบว่าน่าจะเป็นไปในลักษณะใดก่อนคาดคะเนคำตอบ สมมุติฐานการวิจัย แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ สมมุติฐานการวิจัยแบบมีทิศทาง กับสมมุติฐานการวิจัยแบบไม่มีทิศทาง
                         1. สมมุติฐานการวิจัยแบบมีทิศทาง คือสมมุติฐานที่เขียนระบุทิศทางของตัวแปรไว้อย่างชัดเจน เช่น
                                   - ก่อนเรียนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าหลังเรียน
                                   - นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่า นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีปกติ
                                   - นักเรียนมีทักษะในการแก้ปัญหาสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
                         2. สมมุติฐานการวิจัยแบบไม่มีทิศทาง คือสมมุติฐานที่ ไม่ระบุทิศทางความสัมพันธ์ของตัวแปรเพียงแต่บอกว่าแตกต่างกันหรือสัมพันธ์กันเท่านั้น เช่น
                                   - นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกัน
                                   -  นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปกับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีปกติมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน
                                  - นักเรียนมีทักษะในการแก้ปัญหาแตกต่างจากเกณฑ์ที่กำหนด
                   การเขียนสมมุติฐานการวิจัยจะเขียนแบบมีทิศทางหรือไม่มีทิศทาง ขึ้นอยู่กับการค้นคว้าเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่าได้ข้อมูลที่มีแนวโน้มอย่างไร ถ้ามีแนวโน้มไปทางใดทางหนึ่งมากพอที่จะยืนยันได้ว่าคำตอบจะเป็นไปทางใดทางหนึ่งให้ตั้งสมมุติฐานแบบมีทิศทาง แต่ถ้าไม่มีข้อมูลมากพอที่จะยืนยันได้ให้ตั้งแบบไม่มีทิศทาง
                           ประโยชน์ในการตั้งสมมติฐานการวิจัย
                  1. สมมติฐานช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นปัญหาการวิจัยชัดเจนยิ่งขึ้น ช่น ทำให้มองเห็นว่าปัญหานี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับตัวแปรใดบ้าง และเป็นปัญหาลักษณะใด เป็นต้น
                   2. สมมติฐานช่วยจำกัดขอบเขตของการวิจัย ทำให้ผู้วิจัยทราบแนวทางที่กำลังวิจัย ทำให้การวิจัยมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน คือ ผู้วิจัยจะทำการวิจัยเฉพาะสมมติฐานที่กำหนดไว้เท่านั้น
                   3.สมมติฐานช่วยให้มองเห็นภาพของข้อมูลต่างๆ และความสัมพันธ์ของข้อมูลที่จะนำมาทดสอบสมมติฐานนั้น
                   4. สมมติฐานช่วยชี้แนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลว่า ควรจะเก็บรวบรวมข้อมูลในเรื่องอะไร แค่ไหน และจะเก็บในลักษณะใด พร้อมทั้งช่วยวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องและมีคุณภาพ
                   5. สมมติฐานอาจสามารถบอกให้ทราบถึงการวางแผนรูปแบบของการวิจัย (Research Design) หรือวิธีแก้ปัญหา
                    6. สมมติฐานช่วยให้ผู้วิจัยเข้าใจตัวแปรที่ศึกษาได้อย่างแจ่มแจ้ง เพราะการกำหนดสมมติฐาน เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ซึ่งผู้วิจัยจำเป็นต้องศึกษาลักษณะและธรรมชาติของตัวแปรให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง
                    7. สมมติฐานช่วยชี้แนวทางในการแปลผล และสรุปผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล หรือเป็นเครื่องมือในการกำหนดโครงร่างหรือแผนงาน (Frame Work) ในการสรุปผลให้แก่ผู้วิจัยนั่นเอง ทั้งนี้เพราะในการแปลผลการวิจัยนั้น จะยึดสมมติฐานเป็นหลัก โดยพิจารณาว่าผลที่ได้นั้นมีความสอดคล้องหรือขัดแย้งกับสมมติฐานที่กำหนดไว้เพียงใด ซึ่งจะทำให้การแปลผลและสรุปผลง่ายขึ้น

 
สรุป การตั้งสมมติฐานการวิจัย เป็นการปรับปัญหาการวิจัยที่อยู่ในรูปของแนวคิดให้เชื่อมโยงกันในรูปของตัวแปร ทำได้โดยผู้วิจัยได้ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและประเมินมาดีแล้ว ผนวกกับความรู้ประสบการณ์ของผู้วิจัย แล้วกำหนดเป็นประโยคสมมติฐานที่ดีเหมาะสมกับปัญหาสมมติฐานเป็นข้อเสนอเพื่อนำไปทดสอบความถูกต้อง โดยทดสอบจากประสบการณ์แห่งความจริง สมมติฐานอาจทดสอบว่าผิดหรือถูกก็ได้ สมมติฐานที่ทดสอบว่าผิดมิได้หมายความว่าเป็นสมมติฐานที่ไม่มีประโยชน์ สมมติฐานที่ปฏิเสธ (Reject) อาจจะช่วยแนะนำนักวิจัยให้สนใจข้อเท็จจริง หรือความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงบางอย่างที่ไม่ได้คาดหมายไว้ก็ได้ ดังนั้น สมมติฐานจะบอกให้เราทราบว่า จะค้นหาอะไร เมื่อได้รวบรวมข้อเท็จจริง โดยมีการจัดระเบียบและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกันแล้ว ข้อเท็จจริงก็ประกอบกันเป็นทฤษฎี เพราะฉะนั้นทฤษฎีจึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาก ในทางปฏิบัติ ทฤษฎีก็คือสมมติฐานที่ได้ปรับปรุงแล้วนั่นเองวิจัย แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
                   1. สมมุติฐานการวิจัยแบบมีทิศทาง
                    2. สมมุติฐานการวิจัยแบบไม่มีทิศทาง           
              จุดมุ่งหมายในการตั้งสมมติฐาน
                                   1. เพื่อเป็นการเชื่อมโยงทฤษฎีและข้อเท็จจริงที่สังเกตพบ
                                   2. เป็นการขยายขอบเขตของความรู้ เนื่องจากเขียนสมมติฐานจากการอนุมานทฤษฎี เพื่อสรุปเป็นข้อค้นพบ เป็นการขยายขอบเขตความรู้
                                    3. เป็นเครื่องช่วยชี้ทิศทางของการวิจัยให้ชัดเจนขึ้น

              ลักษณะของสมมติฐานที่ดี
                                    1. ต้องระบุความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาคาดหมายล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้น โดยอยู่ในรูป "แตกต่างกัน" "มากกว่า" "น้อยกว่า" "สัมพันธ์กัน" "ขึ้นอยู่กับ" เป็นต้น
                                     2. ความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงสามารถทดสอบได้ นั้นคือตัวแปรที่ศึกษาต้องวัดไว้ สังเกตได้ และความสัมพันธ์นั้นวิเคราะห์ได้ด้วยวิธีทางสถิติ
                                     3. ความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงมีเหตุผลเหมาะสมสอดคล้องกับผลการวิจัยและทฤษฎีที่นำมาเป็นกรอบความคิดในการวิจัย
                                     4. ประโยคที่เป็นสมมติฐานต้องแสดงความเป็นเหตุเป็นผลที่เหมาะสม น่าเชื่อถือได้
                          หลักการเขียนสมมติฐานทางการวิจัย
                                      1. เขียนเป็นประโยคบอกเล่า ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ระบุทิศทางหรือไม่ขึ้นกับเหตุผลทฤษฎีที่นำมาใช้เป็นกรอบในการทำวิจัย
                                       2. เขียนเป็นประโยคสั้นๆ ภาษาเข้าใจง่าย ระบุความหมายชัดเจนในแง่การวัดมากที่สุด
                                       3. เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องในกรอบการวิจัยเรื่องนั้น ๆ
                                       4. อาจเขียนได้หลายข้อ ในปัญหาวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ
                                       5. สมมติฐานทุกข้อที่ตั้งขึ้นต้องทดสอบได้
                                       6. สมมติฐานควรเขียนเรียงลำดับสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
                ประโยชน์ในการตั้งสมมติฐานการวิจัย
                     1. สมมติฐานช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นปัญหาการวิจัยชัดเจนยิ่งขึ้น
                     2. สมมติฐานช่วยจำกัดขอบเขตของการวิจัย ทำให้ผู้วิจัยทราบแนวทางที่กำลังวิจัย ทำให้การวิจัยมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน
                     3. สมมติฐานช่วยให้มองเห็นภาพของข้อมูลต่างๆ และความสัมพันธ์ของข้อมูลที่จะนำมาทดสอบสมมติฐานนั้น
                      4. สมมติฐานช่วยชี้แนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลว่า ควรจะเก็บรวบรวมข้อมูลในเรื่องอะไร แค่ไหน และจะเก็บในลักษณะใด พร้อมทั้งช่วยวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องและมีคุณภาพ
                      5. สมมติฐานอาจสามารถบอกให้ทราบถึงการวางแผนรูปแบบของการวิจัย (Research Design) หรือวิธีแก้ปัญหา
                      6. สมมติฐานช่วยให้ผู้วิจัยเข้าใจตัวแปรที่ศึกษาได้อย่างแจ่มแจ้ง เพราะการกำหนดสมมติฐาน เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ซึ่งผู้วิจัยจำเป็นต้องศึกษาลักษณะและธรรมชาติของตัวแปรให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง
                      7. สมมติฐานช่วยชี้แนวทางในการแปลผล และสรุปผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล หรือเป็นเครื่องมือในการกำหนดโครงร่างหรือแผนงาน (Frame Work) ในการสรุปผลให้แก่ผู้วิจัยนั่นเอง ทั้งนี้เพราะในการแปลผลการวิจัยนั้น จะยึดสมมติฐานเป็นหลัก โดยพิจารณาว่าผลที่ได้นั้นมีความสอดคล้องหรือขัดแย้งกับสมมติฐานที่กำหนดไว้เพียงใด ซึ่งจะทำให้การแปลผลและสรุปผลง่ายขึ้น
อ้างอิง
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://itcstatistic.blogspot.com/2009/05/1.html เข้าถึงเมื่อ 25/ 11/ 2555
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://www.stks.or.th/blog/?p=2385 เข้าถึงเมื่อ 25/ 11/ 2555
              [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://petcharawadee3.blogspot.com/2008/12/blog-post.html 
เข้าถึงเมื่อ 25/ 11/ 2555

                                                              

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น