วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

12. ระเบียบวิธีวิจัย

                http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:9G9WhCPNj8oJ:www.gotoknow.org/blogs/posts/375613 กล่าวว่า ระเบียบวิธีวิจัย หมายถึง กระบวนทัศน์ (Paradigm) ทฤษฎี หลักการ และกระบวนการดำเนินงานทุกขั้นตอน จึงครอบคลุกไปถึงวิธีการและเทคนิคของการวิจัย(ระเบียบวิธีการวิจัยหนึ่งอาจจะใช้เทคนิคหรือวิธีการได้หลายแบบนะครับ)ด้วย ซึ่งวิธีการหรือเทคนิคการวิจัยเป็นเรื่องของการทำกิจกรรมขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการวิจัยเท่านั้น ระเบียบวิธีการวิจัยหรือวิธีการวิจัย(Research methodology) นั้นแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือระเบียบวิธีการวิจัยเชิงวิตรรก (Rational research methodology)และระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical research methodology)ซึ่งกล่าวถึงรายละเอียดได้ดังนี้
                           ระเบียบวิธีวิจัยเชิงวิตรรก
              เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเหตุผล ได้รับอิทธิพลจากสำนักคิดทางญาณวิทยาเหตุผลนิยม (Rationalism)ดังนั้นในการวิจัยจึงมีลักษณะเป็นการคิดที่ใช้เหตุผลสรุปโดยอาศัยการนิรนัย(Deductive)ความรู้ที่ได้จึงไม่ใช่ความจริงที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ตัวอย่างความรู้ความจริงที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้ได้แก่ ปรัชญา ตรรกศาสตร์ เรขาคณิต และคณิตศาสตร์ เป็นต้น
                            ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์
              เป็นระเบียบวิธีวิจัยที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากสำนักคิดทางญาณวิทยาประจักษ์นิยม(Empiricism)ดังนั้นในการวิจัยจึงมุ่งค้นหาความจริงโดยใช้ประสบการณ์ที่ผ่านประสบการณ์ที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้ ในระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้จึงมักเริ่มต้นด้วยการสังเกต สัมผัสปรากฏการณ์ในธรรมชาติอย่างบ่อยครั้งแล้วอาศัยการสรุปแบบอุปนัย(Inductive)ตัวอย่างความรู้ความจริงที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้ ได้แก่ ความรู้ความจริงที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ในธรรมชาติทั้งหมด
             แต่อย่างไรก็ตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ยังแบ่งออกเป็นสองกลุ่มย่อยคือ กลุ่มปฏิฐานนิยม (Positivism) และกลุ่มปรากฏการณ์นิยม(Phenomenologism) รายละเอียดดังนี้
             กลุ่มปฏิฐานนิยม (Positivism)มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โดยเน้นศึกษาปรากฏการณ์ที่เป็นวัตถุสสารที่สามารถสัมผัสจับต้อง แจงนับ วัดค่าได้ คือมีความเป็นปรนัย(Objectivity)และเชื่อว่าปรากฏการณ์ในธรรมชาติที่มุ่งศึกษานั้นเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอไม่แปรเปลี่ยนง่ายๆ นักวิจัยมีหน้าที่ค้นหาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอซึ่งเรียนว่ากฎธรรมชาติ (Natural law)เพื่อที่จะใช้ความรู้ความจริงจากกฎที่ค้นพบนี้ไปควบคุมปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางธรรมชาติให้เกิดหรือไม่เกิดตามที่ต้องการ ความเชื่อของกลุ่มปฏิฐานนิยมนี้เป็นบ่อเกิดของระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research methodology) ซึ่งนับเป็นกระแสหลัก (Main stream)ที่ใช้ศึกษาปรากฏการณ์ในธรรมชาติ
              กลุ่มปรากฏการณ์นิยม (Phenomenologism)ในกลุ่มนี้มีพื้นฐานความเชื่อเกี่ยวกับการมองและศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมซึ่งเป็นเรื่องของมนุษย์แตกต่างไปจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอื่น ๆ โดยที่มีความเชื่อว่า ปรากฏการณ์ทางสังคมนั้นมีลักษณะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงหรือมีความเป็นพลวัต(Dynamic) สูงมาก ด้วยเหตุนี้การที่จะทำการศึกษาให้ได้ความรู้ความจริง และเข้าใจถึงปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างแท้จริงจึงไม่สามารถกระทำได้ด้วยการแจงนับ วัดค่าเป็นตัวเลข หากแต่ต้องเข้าใจถึงความหมายและคุณค่า วัฒนธรรมของกลุ่มคนดังกล่าวเสียก่อน จากพื้นฐานความเชื่อเช่นนี้จึงทำให้เกิดระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research methodology)ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยนี้เป็นที่ยอมรับที่จะนำมาศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-12  กล่าวว่า ระเบียบวิธีวิจัย หมายถึง กระบวนทัศน์ (Paradigm) ทฤษฎี หลักการ และกระบวนการดำเนินงานทุกขั้นตอน จึงครอบคลุกไปถึงวิธีการและเทคนิคของการวิจัย(ระเบียบวิธีการวิจัยหนึ่งอาจจะใช้เทคนิคหรือวิธีการได้หลายแบบนะครับ)ด้วย ซึ่งวิธีการหรือเทคนิคการวิจัยเป็นเรื่องของการทำกิจกรรมขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการวิจัยเท่านั้นแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงวิตรรก (Rational research methodology)และระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical research methodology)ซึ่งกล่าวถึงรายละเอียดได้ดังนี้
             ระเบียบวิธีวิจัยเชิงวิตรรก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเหตุผล ได้รับอิทธิพลจากสำนักคิดทางญาณวิทยาเหตุผลนิยม (Rationalism)ดังนั้นในการวิจัยจึงมีลักษณะเป็นการคิดที่ใช้เหตุผลสรุปโดยอาศัยการนิรนัย(Deductive)ความรู้ที่ได้จึงไม่ใช่ความจริงที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ตัวอย่างความรู้ความจริงที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้ได้แก่ ปรัชญา ตรรกศาสตร์ เรขาคณิต และคณิตศาสตร์ เป็นต้น
              ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ เป็นระเบียบวิธีวิจัยที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากสำนักคิดทางญาณวิทยาประจักษนิยม(Empiricism)ดังนั้นในการวิจัยจึงมุ่งค้นหาความจริงโดยใช้ประสบการณ์ที่ผ่านประสบการณ์ที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้ ในระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้จึงมักเริ่มต้นด้วยการสังเกต สัมผัสปรากฏการณ์ในธรรมชาติอย่างบ่อยครั้งแล้วอาศัยการสรุปแบบอุปนัย(Inductive)ตัวอย่างความรู้ความจริงที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้ ได้แก่ ความรู้ความจริงที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ในธรรมชาติทั้งหมด
               แต่อย่างไรก็ตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ยังแบ่งออกเป็นสองกลุ่มย่อย คือ กลุ่มปฏิฐานนิยม (Positivism) และกลุ่มปรากฏการณ์นิยม(Phenomenologism) รายละเอียดดังนี้
               กลุ่มปฏิฐานนิยม (Positivism) มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โดยเน้นศึกษาปรากฏการณ์ที่เป็นวัตถุสสารที่สามารถสัมผัสจับต้อง แจงนับ วัดค่าได้ คือมีความเป็นปรนัย(Objectivity)และเชื่อว่าปรากฏการณ์ในธรรมชาติที่มุ่งศึกษานั้นเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอไม่แปรเปลี่ยนง่าย ๆ นักวิจัยมีหน้าที่ค้นหาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอซึ่งเรียนว่ากฎธรรมชาติ (Natural law)เพื่อที่จะใช้ความรู้ความจริงจากกฎที่ค้นพบนี้ไปควบคุมปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางธรรมชาติให้เกิดหรือไม่เกิดตามที่ต้องการ ความเชื่อของกลุ่มปฏิฐานนิยมนี้เป็นบ่อเกิดของระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research methodology) ซึ่งนับเป็นกระแสหลัก (Main stream)ที่ใช้ศึกษาปรากฏการณ์ในธรรมชาติ
              กลุ่มปรากฏการณ์นิยม (Phenomenologism)ในกลุ่มนี้มีพื้นฐานความเชื่อเกี่ยวกับการมองและศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมซึ่งเป็นเรื่องของมนุษย์แตกต่างไปจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอื่นๆ โดยที่มีความเชื่อว่า ปรากฏการณ์ทางสังคมนั้นมีลักษณะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงหรือมีความเป็นพลวัต(Dynamic) สูงมาก ด้วยเหตุนี้ การที่จะทำการศึกษาให้ได้ความรู้ความจริง และเข้าใจถึงปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างแท้จริงจึงไม่สามารถกระทำได้ด้วยการแจงนับ วัดค่าเป็นตัวเลข หากแต่ต้องเข้าใจถึงความหมายและคุณค่า วัฒนธรรมของกลุ่มคนดังกล่าวเสียก่อน จากพื้นฐานความเชื่อเช่นนี้จึงทำให้เกิดระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research methodology)ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยนี้เป็นที่ยอมรับที่จะนำมาศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:6wXp4W5yBAwJ:graduate.east.spu.ac.th/KM/AcademicWriting(F)/unit2/U2_7/01.html+&cd=10&hl=th&ct=clnk&gl=th   กล่าวว่าระเบียบวิธีวิจัย กล่าวถึงขั้นตอนและกระบวนการวิจัย ในขั้นตอนนี้ควรจะแสดงถึงโครงสร้างของความรู้ให้ผู้อ่านได้ทราบถึงเงื่อนไขหรือวิธีการที่การทดลองหรือการศึกษาวิจัยนั้นได้กระทำขึ้น ควรรวมถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้อ่านประเมินความน่าเชื่อถือของระเบียบวิธีวิจัย และเป็นการย้ำว่าสามารถทดลองหรือศึกษาซ้ำได้โดยใช้ระเบียบวิธีเดียวกัน หากบางประเด็นมีรายละเอียดมากให้ใส่ไว้ในภาคผนวก
                              ระเบียบวิธีวิจัยต้องมีข้อมูลต่อไปนี้
                                    -การออกแบบการวิจัย Overview of the study (design)
                                    -ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล Population/sample
                                    -สถานที่ Location
                                    -ข้อจำกัด Restrictions/Limiting conditions
                                    -การเลือกกลุ่มตัวอย่าง/ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล Sampling technique
                                    -ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยหรือศึกษา Procedures/Methods/Methodology
                                    -วัตถุที่ใช้ (เช่น ในการทดลอง) Materials เครื่องมือวิจัย instruments
                                    -ตัวแปร Variables
                                    -สถิติที่ใช้ Statistical treatment
                                    -การวิเคราะห์ข้อมูล data analysis
                                   -เขียนระเบียบวิธีวิจัยขึ้นกับลักษณะการดำเนินการ และความซับซ้อนของงานวิจัย

สรุป  ระเบียบวิธีวิจัย หมายถึง กระบวนทัศน์ (Paradigm) ทฤษฎี หลักการ และกระบวนการดำเนินงานทุกขั้นตอน จึงครอบคลุกไปถึงวิธีการและเทคนิคของการวิจัยด้วย ซึ่งวิธีการหรือเทคนิคการวิจัยเป็นเรื่องของการทำกิจกรรมขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการวิจัยเท่านั้น ระเบียบวิธีวิจัย กล่าวถึงขั้นตอนและกระบวนการวิจัย ในขั้นตอนนี้ควรจะแสดงถึงโครงสร้างของความรู้ให้ผู้อ่านได้ทราบถึงเงื่อนไขหรือวิธีการที่การทดลองหรือการศึกษาวิจัยนั้นได้กระทำขึ้น ควรรวมถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้อ่านประเมินความน่าเชื่อถือของระเบียบวิธีวิจัย และเป็นการย้ำว่าสามารถทดลองหรือศึกษาซ้ำได้โดยใช้ระเบียบวิธีเดียวกัน หากบางประเด็นมีรายละเอียดมากให้ใส่ไว้ในภาคผนวก ระเบียบวิธีการวิจัยหรือวิธีการวิจัย(Research methodology) นั้นแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือระเบียบวิธีการวิจัยเชิงวิตรรก (Rational research methodology)และระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical research methodology) แต่อย่างไรก็ตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ยังแบ่งออกเป็นสองกลุ่มย่อยคือ กลุ่มปฏิฐานนิยม (Positivism) และกลุ่มปรากฏการณ์นิยม(Phenomenologism)
                               ระเบียบวิธีวิจัยต้องมีข้อมูลต่อไปนี้ 
                                      -การออกแบบการวิจัย Overview of the study (design)
                                      -ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล Population/sample
                                      -สถานที่ Location
                                      -ข้อจำกัด Restrictions/Limiting conditions
                                     -การเลือกกลุ่มตัวอย่าง/ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล Sampling technique
                                      -ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยหรือศึกษา Procedures/Methods/Methodology
                                      -วัตถุที่ใช้ (เช่น ในการทดลอง) Materials เครื่องมือวิจัย instruments
                                      -ตัวแปร Variables
                                      -สถิติที่ใช้ Statistical treatment
                                      -การวิเคราะห์ข้อมูล data analysis
                                      -เขียนระเบียบวิธีวิจัยขึ้นกับลักษณะการดำเนินการ และความซับซ้อนของงาน


                                                                                              อ้างอิง

[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:9G9WhCPNj8oJ:www.gotoknow.org/blogs/posts/375613  เข้าถึงเมื่อ 25/ 11/ 2555
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-12  เข้าถึงเมื่อ 25/ 11/ 2555
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:6wXp4W5yBAwJ:graduate.east.spu.ac.th/KM/AcademicWriting(F)/unit2/U2_7/01.html+&cd=10&hl=th&ct=clnk&gl=th  เข้าถึงเมื่อ 25/ 11/ 2555


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น