วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

16. ข้อจำกัดในการวิจัย

                 http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:Yixfu0KCQL0J:ajdusadee-dusadee.blogspot.com/2011/01/blog-post.html  กล่าวว่า ในการทำวิจัย มีคำอยู่ 3 คำที่ใช้กันแบบเรื่อยเปื่อย ขาดความเข้าใจที่ชัดเจน หรือให้ความสำคัญน้อยไป ได้แก่ ขอบเขต ข้อตกลงเบื้องต้น และข้อจำกัด ขอบเขตของงานวิจัย( boundary of research problem ) มักพบเจอในการเขียนบทที่ 1 การกำหนดขอบเขตของการวิจัยนี้ เกี่ยวข้องใกล้ชิด กับการกำหนดปัญหาการวิจัยที่ชัดเจน ลักษณะของขอบเขตของการวิจัยมีประเด็นที่ควรกล่าวถึง ประกอบด้วย ขอบเขตด้านกลุ่มตัวอย่างหรือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ที่ต้องระบุว่ามีลักษณะเช่นใด เกี่ยวกับ ชาติพันธุ์ เพศ เศรษฐกิจและสังคมที่จะทำให้ผู้อ่านงานวิจัย หรือนักวิจัยเองทราบว่า การตีความข้อค้นพบหรือ ผลจากการวิจัย ทำภายในขอบเขตเช่นไร เช่น การวิจัยเพื่อสร้างโมเดล การออมเงินของ นักศึกษามหาวิทยาลัย ขอบเขตของการตีความก็อยู่ในบริบทของอายุ และสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัย ขอบเขตด้านทฤษฎี อาจประกอบด้วยการระบุชื่อของทฤษฎีที่ใช้ในการสร้างความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง การตีความต้องอยู่บนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีนั้น ในงานวิจัยระดับปริญญาเอก โท ของหลายมหาวิทยาลัยเวลาระบุเกี่ยวกับขอบเขตไปใส่หัวข้อว่ากลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม นั้นเป็นการเขียนที่บอกข้อมูลเกี่ยวกับขอบเขต แต่มิได้เป็นการระบุขอบเขตที่ควรทำเพราะให้ข้อมูลในระดับปฏิบัติการ มากการการให้ข้อมูลระดับconcept ข้อตกลงเบื้องต้น (assumption) เป็นการเขียนในขั้นการวางแผนการวิจัยเช่นกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับมุมมองของนักวิจัยในการใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับการวิจัยเช่น การใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล การใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ว่านักวิจัยมีความเชื่อในสิ่งที่เป็นฐานคิดว่าอย่างไร เช่น ผู้วิจัยเลือกใช้การเก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เพราะผู้วิจัยมีฐานคิดว่า “reality” อยู่ที่ความเชื่อ ความคิด ของผู้ให้ข้อมูล ดังนั้นการได้ข้อมูลต้องเข้าไปสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกับผู้ให้ข้อมูล ต้องไปเข้าใจวิธีคิดของผู้ให้ข้อมูล ข้อจำกัด (limitation) เป็นการเขียนเมื่อผู้วิจัยทำวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว และพบ ผลจากการวิจัย(บนขอบเขตและข้อตกลงเบื้องต้นที่กล่าวไปแล้ว) ที่มีข้อจำกัดอื่น ๆหรือจุดอ่อนของการวิจัยที่ผู้วิจัยต้องการให้ผู้อ่าน ผู้ใช้ผลงานวิจัย ได้พึงระวัง การเขียนข้อจำกัดของการวิจัยเขียน อาจเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับ ขอบเขต หรือข้อตกลงเบื้องต้นก็ได้

 

http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:Vb-BpUk6Pz8J:m15a4ca.multiply.com   กล่าวว่า  ข้อจำกัดของการวิจัยทางการศึกษามีดังนี้
          1. ความซับซ้อนของเนื้อหาหรือปัญหาที่จะศึกษา
          2. ความยากในการรวบรวมข้อมูล
          3. ความยากในการทำซ้ำ
          4. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยและสมาชิกในกลุ่มตัวอย่าง หรือกลุ่มประชากรมีผลกระทบต่อผลการวิจัย
          5. ความยากในการควบคุมตัวแปรเกิน
          6. เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลทางการศึกษา มีความแม่นยำและเชื่อถือได้ น้อยกว่าเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์
                                                    

https://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:ElpnRCb6vmwJ:www.edu.tsu.ac.th  กล่าวว่าการระบุข้อจำกัดของการวิจัยแสดงให้เห็นถึงความไม่สมบูรณ์ของการวิจัย ซึ่งในหัวข้อนี้อาจไม่เขียนลงไปในงานวิจัยก็ได้   หากว่าผู้วิจัยได้มีการออกแบบการวิจัยเป้นอย่างดี  ข้อจำกัดนี้โดยปกติมักพบระหว่างทำการวิจัยหรือทำวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว  ผู้วิจัยจึงนำมาเขียนให้คนอ่านได้ทราบว่าข้อจำกัดมีอะไรบ้าง  มีสาเหตุมาจากอะไรสามารถแก้ไขได้อย่างไร  หากแก้ไขไม่ได้ทำให้ส่งผลกระทบต่อการวิจัยอย่างไร   โดยปกติในการนำเสนอเค้าโครงการวิจัย ( proposal ) จะไม่ระบุข้อจำกัดในการวิจัย  เพราะยังไม่ทราบแต่ถ้าทราบจะต้องแก้ไขไม่ไห้มี  ข้อจำกัดบางอย่างในทางการวิจัยไม่สามารถรับได้   เช่น กลุ่มตัวอย่าง  ไม่ตั้งใจตอบ  หรือไม่ตั้งใจให้ข้อมูลทำให้ข้อมูลในการวิจัยไม่ค่อยน่าเชื่อถือ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นแสดงว่างานวิจัยนั้นจะไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นแสดงว่างานวิจัยนั้นจะไม่น่าเชื่อถือตลอดทั้งเล่มโดยปกติในการทำวิจัยมักจะระบุข้อจำกัดในการวิจัยหลายประการ  เช่น  ข้อจำกัดในเรื่องค่าใช้จ่าย  ข้อจำกัดในการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง  ข้อจำกัดในเรื่องของเวลาที่ใช้ในการวิจัย   ข้อจำกัด ในเรื่องสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูล   ตลอดทั้งข้อจำกัดในเรื่องของเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย  ซึ่งข้อจำกัดนั้นสามารถแก้ไขได้ก่อนทำการวิจัย



                 สรุป การระบุข้อจำกัดของการวิจัยแสดงให้เห็นถึงความไม่สมบูรณ์ของการวิจัย ซึ่งในหัวข้อนี้อาจไม่เขียนลงไปในงานวิจัยก็ได้   หากว่าผู้วิจัยได้มีการออกแบบการวิจัยเป้นอย่างดี  ข้อจำกัดนี้โดยปกติมักพบระหว่างทำการวิจัยหรือทำวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว  ผู้วิจัยจึงนำมาเขียนให้คนอ่านได้ทราบว่าข้อจำกัดมีอะไรบ้าง  มีสาเหตุมาจากอะไรสามารถแก้ไขได้อย่างไร  หากแก้ไขไม่ได้ทำให้ส่งผลกระทบต่อการวิจัยอย่างไร  การทำวิจัย มีคำอยู่ 3 คำที่ใช้กันแบบเรื่อยเปื่อย ขาดความเข้าใจที่ชัดเจน หรือให้ความสำคัญน้อยไป ได้แก่ ขอบเขต ข้อตกลงเบื้องต้น และข้อจำกัด ขอบเขตของงานวิจัย  ข้อจำกัดของการวิจัยทางการศึกษามีดังนี้
              1. ความซับซ้อนของเนื้อหาหรือปัญหาที่จะศึกษา
              2. ความยากในการรวบรวมข้อมูล
              3. ความยากในการทำซ้ำ
              4. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยและสมาชิกในกลุ่มตัวอย่าง หรือกลุ่มประชากรมีผลกระทบต่อผลการวิจัย
              5. ความยากในการควบคุมตัวแปรเกิน
              6. เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลทางการศึกษา มีความแม่นยำและเชื่อถือได้ น้อยกว่าเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์

 

อ้างอิง

[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:Yixfu0KCQL0J:ajdusadee-dusadee.blogspot.com/2011/01/blog-post.html เข้าถึงเมื่อ 25/ 11/ 2555
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ :  http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:Vb-BpUk6Pz8J:m15a4ca.multiply.com   เข้าถึงเมื่อ 25/ 11/ 2555
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : https://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:ElpnRCb6vmwJ:www.edu.tsu.ac.th  เข้าถึงเมื่อ 25/ 11/ 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น