วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

14. การวิเคราะห์ข้อมูล


ดร.อุทัย เอกสะพัง  (http://www.gotoknow.org/posts/492737) กล่าวว่า การวิเคราะห์ข้อมูล(Data Analysis) มีเป้าหมายเพื่อสรุปปัญหาที่ทำวิจัยไว้แล้วเป็นการพิสูจน์ความแท้จริงของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาใช้ และการตีความข้อมูล ( Interpretation )นั้นคือกระบวนการวิจัย ( The research process )เพื่อเรียนรู้อะไร เพื่ออธิบาย ( Explanation )สิ่งที่ได้มาคืออะไร และขยายความตามเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เพื่อสรุปเป็นผลการศึกษาวิจัย
           การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ อาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคมหรือปรากฏการณ์อื่นๆ เป็นการมุ่งอธิบายถึงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ ( ตัวแปร) มีเงื่อนไขว่า
                   1. การวิเคราะห์ข้อมูลเริ่มทำไปพร้อมๆ กับการเก็บข้อมูล
                                   2. ต้องมีข้อมูลจากมุมมองของคนใน                                                                   
                    3. ต้องอาศัยสมมุติฐานชั่วคราว
                    4. ผู้วิจัยต้องเป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเอง
                           เงื่อนไขแรก ต้องยำข้อมูลค้นหาประเด็นที่ทำการวิจัยเป็นการมาวิเคราะห์ ตีความและสรุปไว้ตรวจสอบแล้วตรวจสอบอีกจนได้ความแน่ชัดในข้อมูลที่ได้มา
           
https://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:XyjdwBQfVPIJ:www.science.cmru.ac.th/scienceblog/admin/blog/file/230411123248.doc กล่าวว่า การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์   โดยในการวิเคราะห์ผู้วิเคราะห์จะต้องทราบว่าข้อมูลที่รวบรวมมานั้น   เป็นข้อมูลอยู่ในระดับใด   จะใช้สถิติตัวใดมาทำการวิเคราะห์   เพื่อให้เป็นไปตามขั้นตกลงเบื้องต้น (Assumption)  ของสถิติแต่ละตัวและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวัดหรือการวิเคราะห์


https://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:EZa2cnxnEPYJ:e-book.ram.edu/e-book/m/MR393/chapter8.pdf   กล่าวว่า ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ ถ้าเป็นข้อมูลเชิงปริมาณผู้วิจัยจะนำข้อมูลมามาหาค่าสถิติต่างๆ เพื่อตอบปัญหาการวิจัยหรือเพื่อทดสอบสมมุติฐานการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นแรกผู้วิจัยจะคำนวณหาค่าสถิติจากข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างก่อนที่เราเรียกว่าสถิติบรรยาย ขั้นต่อมาผู้วิจัยจะใช้สถิติอ้างอิงเพื่อสรุปคำตอบไปยังประชากร กรณีข้อมูลเชิงคุณภาพการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบปัญหาการวิจัยจะใช้วิธีการสรุปความหรือสังเคราะห์ข้อความ เสร็จแล้วจึงนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาเสนอในรายงานการวิจัย


สรุป  การวิเคราะห์ข้อมูล ( Data Analysis ) มีเป้าหมายเพื่อสรุปปัญหาที่ทำวิจัยไว้แล้วเป็นการพิสูจน์ความแท้จริงของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาใช้ และการตีความข้อมูล ( Interpretation )โดยในการวิเคราะห์ผู้วิเคราะห์จะต้องทราบว่าข้อมูลที่รวบรวมมานั้นเป็นข้อมูลอยู่ในระดับใดจะใช้สถิติตัวใดมาทำการวิเคราะห์   เพื่อให้เป็นไปตามขั้นตกลงเบื้องต้น (Assumption)  ของสถิติแต่ละตัวและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวัดหรือการวิเคราะห์ เพื่อตอบปัญหาการวิจัยหรือเพื่อทดสอบสมมุติฐานการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นแรกผู้วิจัยจะคำนวณหาค่าสถิติจากข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างก่อนที่เราเรียกว่าสถิติบรรยาย ขั้นต่อมาผู้วิจัยจะใช้สถิติอ้างอิงเพื่อสรุปคำตอบไปยังประชากร กรณีข้อมูลเชิงคุณภาพการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบปัญหาการวิจัยจะใช้วิธีการสรุปความหรือสังเคราะห์ข้อความ เสร็จแล้วจึงนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาเสนอในรายงานการวิจัย
                              การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ มีเงื่อนไขว่า
                        1. การวิเคราะห์ข้อมูลเริ่มทำไปพร้อมๆ กับการเก็บข้อมูล
                                        2. ต้องมีข้อมูลจากมุมมองของคนใน
                        3. ต้องอาศัยสมมุติฐานชั่วคราว
                         4. ผู้วิจัยต้องเป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเอ
                               


อ้างอิง

อุทัย เอกสะพัง. [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://www.gotoknow.org/posts/492737   เข้าถึงเมื่อ 25/ 11/ 2555
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : https://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:XyjdwBQfVPIJ:www.science.cmru.ac.th/scienceblog/admin/blog/file/230411123248.doc เข้าถึงเมื่อ 25/ 11/ 2555
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : https://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:EZa2cnxnEPYJ:e-book.ram.edu/e-book/m/MR393/chapter8.pdf   เข้าถึงเมื่อ 25/ 11/ 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น