วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

1.ชื่อเรื่อง

              นิภา ศรีไพโรจน์ (http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:sollAnQ5FWcJ:www.watpon.com/) กล่าวว่า ชื่อเรื่องวิจัยนับเป็นจุดแรกที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน และทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในปัญหารวมทั้งวิธีการดำเนินการวิจัยของผู้วิจัยอีกด้วย ดังนั้นการตั้งชื่อเรื่องวิจัยจึงต้องเขียนให้ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่เขียนอย่างคลุมเครือ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องระมัดระวังในการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
                             1. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้สั้น โดยใช้คำที่เฉพาะเจาะจง หรือสื่อความหมายเฉพาะเรื่อง และควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย กะทัดรัด แต่ชื่อเรื่องก็ไม่ควรจะสั้นเกินไปจนทำให้ขาดความหมายทางวิชาการ
                             2. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้ตรงกับประเด็นของปัญหา เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะได้ทราบว่าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาอะไรได้ทันที อย่างตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ทำให้ผู้อ่านตีความได้หลายทิศทาง และอย่าพยายามทำให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเกินความเป็นจริง
                             3. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยโดยการใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัย ซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น เช่น
                                           3.1 การวิจัยเชิงสำรวจ มักใช้คำว่า การสำรวจ หรือการศึกษาในชื่อเรื่องวิจัยหรืออาจระบุตัวแปรเลยก็ได้ เช่น การศึกษาการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการสำรวจการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการใช้สารเคมีของชาวอีสาน เป็นต้น
                                           3.2 การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ การตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะนี้ มักจะใช้คำว่า การศึกษา เปรียบเทียบ หรือการเปรียบเทียบ นำหน้า เช่น การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนในเขตและนอกเขตเทศบาล ของจังหวัดมหาสารคาม
                                           3.3 การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ การวิจัยประเภทนี้จะใช้คำว่า การศึกษาความสัมพันธ์ หรือความสัมพันธ์ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งกับพ่อแม่และการปรับตัวของวัยรุ่น เป็นต้น
                                           3.4 การวิจัยเชิงการศึกษาพัฒนาการ การวิจัยประเภทนี้มักใช้คำว่า การศึกษาพัฒนาการหรือพัฒนาการ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น การศึกษาพัฒนาการด้านการเขียนของเด็กก่อนวัยเรียนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม
                                           3.5 การวิจัยเชิงทดลอง การตั้งชื่อเรื่องวิจัยประเภทนี้อาจตั้งชื่อได้แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการทดลอง เช่น อาจใช้คำว่า การทดลอง การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การศึกษา การเปรียบเทียบ ฯลฯ นำหน้า หรือาจจะไม่ใช้คำเหล่านี้นำหน้าก็ได้ เช่น การทดลองเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในจังหวัดอ่างทอง การวิเคราะห์หาปริมาณของกรดอะมิโนที่จำเป็นในปลายรากข้าวโพดหลังจากแช่ในสารละลายน้ำตาลชนิดต่าง ๆ การสังเคราะห์กรดไขมันจากอะเซติลโคเอ การศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ในยางมะละกอ การเปรียบเทียบการสอนอ่านโดยวิธีใช้ไม่ใช้การฟังประกอบ การสกัดสารอินดิเคเตอร์จากดอกอัญชัน ฯลฯ
                             4. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะของคำนาม ซึ่งจะทำให้เกิดความไพเราะ สละสลวยกว่าการใช้คำกริยานำหน้าชื่อเรื่อง เช่น แทนที่จะใช้คำว่า ศึกษา เปรียบเทียบ สำรวจ ก็ควรใช้คำที่มีลักษณะเป็นคำนามนำหน้า เช่น การศึกษา การเปรียบเทียบ การสำรวจ ฯลฯ
                            5. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ประกอบด้วยข้อความเรียงที่สละสลวยได้ใจความสมบูรณ์ คือเป็นชื่อเรื่องที่ระบุให้ทราบตั้งแต่จุดมุ่งหมายของการวิจัย ตัวแปร และกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาวิจัยด้วย

                  สมบัติ ทีฆทรัพย์ ( http://km.mcu.ac.th/km_proj_data.php?pid=2&pm=2 ) กล่าวว่า การเลือกเรื่องและกำหนดหัวข้อเรื่องของบทความวิจัย ต่างจากการเลือกเรื่องและกำหนดหัวข้อเรื่องในการเขียนบทความทางวิชาการอื่นๆ ทั้งนี้เพราะเรื่องของบทความวิจัยนั้นจะมีที่มาจากผลการวิจัย ดังนั้นผู้เขียนบทความวิจัย จึงอาจเป็นเจ้าของผลงานวิจัยที่ดำเนินการวิจัยจนเสร็จสิ้น และพบประเด็นหรือเรื่องที่น่าสนใจจะนำมาเขียนเป็นบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ประเด็นนั้นๆ ต่อ หรืออาจะเป็นผู้อ่านผลงานวิจัย และพบประเด็นที่น่าสนใจที่จะนำมาเขียนเป็นบทความวิจัยขยายต่อไปก็ได้ รองศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ ทีฆทรัพย์ ได้แนะนำวิธีการเลือกเรื่องมาเขียนบทความวิจัย ไว้ว่า อาจมี 4 ลักษณะ สรุปได้ว่า
                               1. เลือกตามความเชี่ยวชาญของผู้เขียน หากเลือกเรื่องในลักษณะนี้ ผู้เขียนบทความจะสามารถเสนอข้อมูลหรือแนวคิดได้อย่างลึกซึ้ง เนื่องจากความรู้และประสบการณ์ที่สะสมมานาน
                                2. เลือกตามความสนใจของผู้เขียน เป็นลักษณะของผู้เขียนบทความมือใหม่ที่เริ่มเข้าสู่วิชาชีพได้ไม่นาน จะยังขาดความรู้ความชำนาญเฉพาะเรื่องอย่างลึกซึ้ง แต่มักเป็นกลุ่มที่มีความคิดเห็นใหม่ที่อาจจะแตกต่างจากผู้ที่เคยทำงานในสาขาวิชานั้นๆ มานาน คามเห็นหรือการตรวจสอบทบทวนข้อมูลมักจะนำไปสู่การพัฒนาแนวคิดหรือวิธีการใหม่ๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญอาจมองข้ามไป
                               3. เลือกตามความต้องการของหน่วยงานหรือเป้าหมายเฉพาะ ผู้เขียนบทความในลักษณะนี้มักจะเป็นผู้ที่อยู่ในฐานะจำเป็นต้องเขียนให้สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานหรือเป้าหมายเฉพาะ ดังนั้น ข้อมูลและความเห็นของผู้เขียนจึงมักอยู่ในวงจำกัดตามนโยบายหรือวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน ผู้เขียนจะต้องมีความระมัดระวัง พยายามหาข้อมูลตลอดจนเสนอแนวคิดให้กว้างขวางให้มากที่สุดตามที่เวลาและโอกาสจะอำนวย
                              
4. เลือกตามกระแสความสนใจของสังคม ในบางช่วงเวลาอาจจะเกิดกระแสความสนใจของสังคมในบางเรื่อง อันเนื่องมาจากเหตุการณ์หรือสถานการณ์บังคับ สิ่งเหล่านี้จะทำให้สังคมเกิดความสนใจ หรือเกิดปัญหาสำคัญที่ต้องรีบแก้ไขหรือปรับสภาพต่างๆ ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเลือกเรื่องที่จะเขียนในลักษณะเช่นนี้จะสามารถชักจูงให้ผู้อ่านสนใจอ่านบทความได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เทคนิคมากนัก

กัญญดา อนุวงศ์ (http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:CFXK2yli2GYJ:rforvcd.wordpress.com) กล่าวว่า การเขียนชื่อเรื่องวิจัยต้องให้กระชับ กะทัดรัด แสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรหรือประเด็นที่ต้องการจะศึกษาอย่างครบถ้วนผู้วิจัยต้องกำหนดชื่อหัวข้อปัญหาลงไปให้ชัดเจนว่า ปัญหานั้นคืออะไร ซึ่งการตั้งชื่อหัวข้อปัญหาการวิจัยนั้น รศ.ดร.ภญ. กัญญดา อนุวงศ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ให้ข้อคิดในการตั้งหัวข้อ ปัญหางานวิจัยไว้ดังนี้
                            1. ชื่อปัญหาควรสั้นกะทัดรัด และชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัยว่า จะศึกษาเรื่องอะไรกับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร ครบคลุมปัญหาที่จะวิจัย
                             2.  ชื่อหัวข้อปัญหาที่ดีจะต้องแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรของปัญหานั้นๆ ตอบว่า ศึกษาปรากฏการณ์หรือตัวแปรอะไร กับใคร ที่ไหน หรือเมื่อไร (ถ้าเกี่ยวกับเวลา)
                             3.  ชื่อเรื่องควรขึ้นต้นด้วยคำนาม เพื่อให้เกิดความไพเราะสละสลวย ที่นิยมกัน คือ มักจะขึ้นด้วยคำว่า การศึกษา การสำรวจ การวิเคราะห์ การเปรียบเทียบ
                             4. ภาษาที่ใช้ต้องอ่านเข้าใจได้ง่าย ไม่ต้องตีความอีก ถ้ามีศัพท์เทคนิคต้องเป็นศัพท์ที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ
                             5. การตั้งชื่อหัวข้อปัญหาจะต้องระวังไม่ให้ซ้ำซ้อนกับผู้อื่น แม้ว่าจะศึกษาในประเด็นที่คล้ายๆ กันก็ตาม

สรุป  ชื่อเรื่องวิจัยนับเป็นจุดแรกที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน การเลือกเรื่องและกำหนดหัวข้อเรื่องของบทความวิจัย ต่างจากการเลือกเรื่องและกำหนดหัวข้อเรื่องในการเขียนบทความทางวิชาการอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องระมัดระวังในการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม ดังนั้นการตั้งชื่อเรื่องวิจัยจึงต้องเขียนให้ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่เขียนอย่างคลุมเครือ กระชับ กะทัดรัด ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
                             1. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้สั้น โดยใช้คำที่เฉพาะเจาะจง หรือสื่อความหมายเฉพาะเรื่อง และควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย กะทัดรัด แต่ชื่อเรื่องก็ไม่ควรจะสั้นเกินไปจนทำให้ขาดความหมายทางวิชาการ
                             2. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้ตรงกับประเด็นของปัญหา เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะได้ทราบว่าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาอะไรได้ทันที อย่างตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ทำให้ผู้อ่านตีความได้หลายทิศทาง และอย่าพยายามทำให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเกินความเป็นจริง
                              3. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยโดยการใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัย ซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น เช่น
                              4. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะของคำนาม
                              5. ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ประกอบด้วยข้อความเรียงที่สละสลวยได้ใจความสมบูรณ์ คือเป็นชื่อเรื่องที่ระบุให้ทราบตั้งแต่จุดมุ่งหมายของการวิจัย ตัวแปร และกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาวิจัยด้วย
                      การตั้งหัวข้อปัญหาควรตั้งดังนี้                                                            
                               1. ชื่อปัญหาควรสั้นกะทัดรัด ชัดเจน                                          
                               2.  ชื่อหัวข้อปัญหาที่ดีจะต้องแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรของปัญหานั้นๆ       
                               3.  ชื่อเรื่องควรขึ้นต้นด้วยคำนาม เพื่อให้เกิดความไพเราะสละสลวย
                               4. ภาษาที่ใช้ต้องอ่านเข้าใจได้ง่าย                                                                               
                               5. การตั้งชื่อหัวข้อปัญหาจะต้องระวังไม่ให้ซ้ำซ้อนกับผู้อื่น


อ้างอิง

นิภา  ศรีไพโรจน์.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:sollAnQ5FWcJ:www.watpon.com  เข้าถึงเมื่อ 7/  11/ 2555
              สมบัติ  ทีฆทรัพย์.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ :  http://km.mcu.ac.th/km_proj_data.php?pid=2&pm=2. เข้าถึงเมื่อ  7 / 11/ 2555
              กัญญดา  อนุวงศ์.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:CFXK2yli2GYJ:rforvcd.wordpress.com  เข้าถึงเมื่อ  7 / 11/ 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น