วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

3.ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง


http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:RxpVqFYP7lwJ:sitawan112.blogspot.com/2012/06/blog-post.html  กล่าวว่า วรรณกรรมหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง (related literature) คือ เอกสารงานเขียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอาจมีหลายลักษณะ เช่น เป็นตำรา สารานุกรม พจนานุกรม นามานุกรม ดัชนี รายงานสถิติ หนังสือรายปี บทความในวารสาร จุลสาร ที่สำคัญก็คือรายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น ผู้วิจัยจะต้องทำการสำรวจอ่านทบทวนอย่างพินิจพิเคราะห์ ทักษะที่สำคัญของการทำวิจัยในขั้นตอนนี้คือ ทักษะในการสืบค้นหาสารนิเทศจากแหล่งต่างๆ และทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
                              ความสำคัญ ของการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง
                           1. ช่วยให้ผู้วิจัยได้ทราบถึงสภาพขององค์ความรู้ (state of the art) ในเรื่องที่จะทำการวิจัย คือจะได้ทราบว่าในหัวข้อเรื่องที่ผู้วิจัยสนใจหรือมีข้อสงสัยใคร่หาคำตอบนั้น ได้มีผู้ศึกษาหาคำตอบได้เป็นความรู้ไว้แล้วในแง่มุมหรือประเด็นใดแล้วบ้าง การจะศึกษาวิจัยเพื่อหาคำตอบในเรื่องนั้นต่อไปควรจะได้ทราบเสียก่อนว่าเรารู้อะไรกันแล้วบ้างเกี่ยวกับเรื่องนั้น ความรู้เหล่านั้นมีความชัดเจนเพียงใด ยังมีข้อความรู้ที่ขัดแย้งไม่ลงรอยกันบ้างหรือไม่ ประเด็นใดที่ยังไม่มีคำตอบบ้าง การทราบถึงสถานภาพขององค์ความรู้ในเรื่องที่จะทำวิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ความรู้ใหม่ที่จะได้จากการวิจัยของตนเองนั้นจะมีความสัมพันธ์อย่างไรกับองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้น จะเป็นความรู้ใหม่ที่มีคุณค่าหรือความสำคัญเพียงใด และจะเข้าไปจัดระเบียบอยู่ในองค์ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างผสมกลมกลืนได้อย่างไร
                            2. ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถหลีกเลี่ยงการทำวิจัยซ้ำซ้อนกับผู้อื่น การวิจัยเป็นเรื่องของการแสวงหาความรู้ใหม่ นักวิจัยไม่นิยมแสงหาความรู้เพื่อที่จะตอบปัญหาเดิมโดยไม่จำเป็น เพราะจะเป็นการเสียเวลา สิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ สิ่งใดที่รู้แล้วมีผู้หาคำตอบไว้แล้ว นักวิจัยจะไม่ทำวิจัยเพื่อหาคำตอบในเรื่องนั้นซ้ำอีก ดังนั้นนักวิจัยจึงพยายามหลีกเลี่ยงการทำวิจัยซ้ำกับที่ผู้อื่นได้ทำไว้แล้วซึ่งถือเป็นจรรยาบรรณอย่างหนึ่งของนักวิจัย และทำให้การวิจัยนั้นด้อยคุณค่าลง การทบทวนเอกสารวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างถี่ถ้วนและรอบคอบจะทำให้นักวิจัยได้ทราบว่าประเด็นที่ตนเองสนใจจะทำวิจัยนั้นได้มีผู้หาคำตอบไว้แล้วหรือยัง ถ้ามีแล้วก็จะได้เลี่ยงไปศึกษาในประเด็นอื่นๆ ที่ยังไม่ได้มีผู้ศึกษาเอาไว้ต่อไป
                           3. ช่วยให้ผู้วิจัยได้มีแนวคิดพื้นฐานเชิงทฤษฎีในเรื่องที่จะทำการวิจัยอย่างเพียงพอ การจะทำวิจัยในเรื่องใดนั้นผู้วิจัยจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นอยู่พอสมควร โดยเฉพาะกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี (Theriticalหรือ Conceptual framwork) เกี่ยวกับเรื่องนั้นจะต้องชัดเจน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้วิจัยกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยได้อย่างชัดเจน สามารถกำหนดแนวทางในการศึกษาได้อย่างเหมาะสม เข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่วิจัยได้อย่างแจ่มแจ้ง
                          4. ช่วยให้ผู้วิจัยได้เห็นแนวทางในการดำเนินงานวิจัยของตน จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องไม่เพียงแต่ทำให้นักวิจัยได้ทราบว่าเรื่องที่สนใจนั้นได้มีผู้วิจัยอื่นได้ค้นคว้าหาคำตอบไว้อย่างไรแล้วเท่านั้น ยังจะได้ทราบด้วยว่านักวิจัยคนอื่นๆ เหล่านั้นได้มีวิธีการหาคำตอบเอาไว้อย่างไร มีปัญหาอุปสรรคอย่างไรในการทำวิจัยในเรื่องนั้น คำตอบที่ได้มามีความชัดเจนแจ่มแจ้งเพียงใด คำตอบสอดคล้องหรือขัดแยังกันหรือไม่ เอกสารเชิงทฤษฎีต่างๆ ได้ชี้แนะแนวทางในการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนั้นอย่างไร สารสนเทศเหล่านี้นักวิจัยจะนำมาใช้ตัดสินใจกำหนดแนวทางในการวิจัยของตนเริ่มตั้งแต่ การกำหนดประเด็นปัญหาที่เหมาะสม การกำหนดขอบเขตและข้อสันนิษฐานการวิจัยอย่างสมเหตุสมผล ออกแบบวิจัยเพื่อดำเนินการหาคำตอบซึ่งจะเกี่ยวกับการเลือกระเบียบวิธีวิจัย การเลือกตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์หรือประมวลผลข้อมูล ตลอดจนการสรุปและรายงานผลการวิจัย นักวิจัยจะวางแผนการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาอุปสรรคที่จะทำให้งานวิจัยนั้นล้มเหลวได้ ช่วยให้โอกาสที่จะทำงานมีวิจัยนั้นให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพมีสูงขึ้น
                         5. ช่วยให้ผู้วิจัยได้มีหลักฐานอ้างอิงเพื่อสนับสนุนในการอภิปรายผลการวิจัย เมื่อผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยจนได้ข้อสรุปหรือคำตอบให้กับปัญหาแล้ว ในการรายงานผลการวิจัยผู้วิจัยจะต้องแสดงความคิดเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์ผลการวิจัย การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบถี่ถ้วนจะช่วยให้ผู้วิจัยมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการแสดงความเห็นได้อย่างสมเหตุสมผลและมีความหนักแน่นน่าเชื่อถือ
                        6. ช่วยสร้างคุณภาพและมาตรฐานเชิงวิชาการให้แก่งานวิจัยนั้น การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนั้นจะต้องประมวลมาเป็นรายงานสรุปใส่ไว้ในรายงานการวิจัย หรือเค้าโครงร่างของการวิจัย(Research proposal)ด้วย การไปทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องมาอย่างกว้างขวางครอบคลุมในเรื่องที่ศึกษาและนำมาเรียบเรียงเอาไว้อย่างดี จะทำให้รายงานหรือโครงร่างการวิจัยนั้นมีคุณภาพและได้มาตรฐาน เป็นการแสดงถึงศักยภาพของนักวิจัยได้ทางหนึ่งว่ามีความสามารถเพียงพอที่จะทำวิจัยในเรื่องนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ ในการพิจารณาโครงร่างการวิจัยส่วนหนึ่งที่กรรมการมักจะพิจารณาเป็นพิเศษก็คือ รายงานการประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้องนี่เอง

 
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี(http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:Hb4TqXwewB0J:th.wikipedia.org) กล่าวว่า การทบทวนวรรณกรรม เป็นเนื้อหาหลักส่วนหนึ่งในการเขียนรายงานการวิจัยโดยเน้นอธิบายเกี่ยวกับงานวิจัยหรือความรู้ในหัวข้อเดียวกันหรือใกล้เคียงในอดีต โดยการทบทวนวรรณกรรมนั้นมีจุดหมายในการรวบรวมข้อมูลปัจจุบันของผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนวรรณกรรมมักจะพบได้ในงานเขียนด้านวิชาการ เช่น ในวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์หรือผลงานในวารสารวิชาการ การทบทวนวรรณกรรมมักจะถูกลำดับเป็นส่วนที่สองของงานเขียนต่อจากบทนำ และมักจะอยู่ก่อนหน้าเป้าหมายงานวิจัย และขั้นตอนการวิจัย


http://www.elearning.ns.mahidol.ac.th/km/index.php/research-knowledge-section/67-r2r-category/335-2011-06-28-03-24-36.html กล่าวว่า การทบทวนวรรณกรรมเป็นการฟื้นฟูความรู้ในเบื้องต้น ก่อนอื่นต้องรู้ว่าเป้าหมายของการทบทวนวรรณกรรม เพื่อไปเรียนรู้ความรู้ที่มีอยู่แล้วในอดีต ป้องกันไม่ให้เกิดการล้าหลังทางความรู้ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงควรปรับความรู้ของตนให้เป็นปัจจุบัน ด้วยการนำความรู้ที่มีอยู่เดิมมาปรับให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วผู้วิจัยมักไม่ให้ความสำคัญกับการการทบทวนวรรณกรรมจึงส่งผลให้งานวิจัยที่ได้ไม่มีคุณภาพ ทั้งนี้การทบทวนวรรณกรรมยังช่วยให้ผู้วิจัยทราบว่างานของวิจัยของตนเองมีความคุ้มค่ามากน้อยเพียงใด ประกอบด้วยเป้าหมายหลัก ดังนี้
               1) การหาความสำคัญของปัญหา
               2) การหาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ต้องการทำวิจัย
               3) แสดงความรู้ปัจจุบันที่มีอยู่ และดูว่ามีองค์ความรู้ใดบ้างที่ยังขาดหายไป
               4) สรุปกรอบแนวคิดที่จะทำวิจัย


สรุป  การทบทวนวรรณกรรม เป็นเนื้อหาหลักส่วนหนึ่งในการเขียนรายงานการวิจัย โดยเน้นอธิบายเกี่ยวกับงานวิจัยหรือความรู้นหัวข้อเดียวกันหรือใกล้เคียงในอดีต เพื่อไปเรียนรู้ความรู้ที่มีอยู่แล้วในอดีตป้องกันไม่ให้เกิดการล้าหลังทางความรู้ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงควรปรับความรู้ของตนให้เป็นปัจจุบัน ด้วยการนำความรู้ที่มีอยู่เดิมมาปรับให้เป็นปัจจุบัน โดยการทบทวนวรรณกรรมนั้นมีจุดหมายในการรวบรวมข้อมูลปัจจุบันของผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนวรรณกรรมมักจะพบได้ในงานเขียนด้านวิชาการ เช่น ในวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ หรือผลงานในวารสาวิชาการการทบทวนวรรณกรรมมักจะถูกลำดับเป็นส่วนที่สองของงานเขียนต่อจากบทนำ และมักจะอยู่ก่อนหน้าเป้าหมายงานวิจัย และขั้นตอนการวิจัยผู้วิจัยจะต้องทำการสำรวจอ่านทบทวนอย่างพินิจพิเคราะห์ ทักษะที่สำคัญของการทำวิจัยในขั้นตอนนี้คือ ทักษะในการสืบค้นหาสารนิเทศจากแหล่งต่างๆ และทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
                             ความสำคัญ ของการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง
                            1. ช่วยให้ผู้วิจัยได้ทราบถึงสภาพขององค์ความรู้ (state of the art) ในเรื่องที่จะทำการวิจัย
                            2. ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถหลีกเลี่ยงการทำวิจัยซ้ำซ้อนกับผู้อื่น การวิจัยเป็นเรื่องของการแสวงหาความรู้ใหม่ ดังนั้นนักวิจัยจึงพยายามหลีกเลี่ยงการทำวิจัยซ้ำกับที่ผู้อื่นได้ทำไว้แล้ว
                            3. ช่วยให้ผู้วิจัยได้มีแนวคิดพื้นฐานเชิงทฤษฎีในเรื่องที่จะทำการวิจัยอย่างเพียงพอ การจะทำวิจัยในเรื่องใดนั้นผู้วิจัยจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นอยู่พอสมควร
                            4. ช่วยให้ผู้วิจัยได้เห็นแนวทางในการดำเนินงานวิจัยของตน จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องไม่เพียงแต่ทำให้นักวิจัยได้ทราบว่าเรื่องที่สนใจนั้นได้มีผู้วิจัยอื่นได้ค้นคว้าหาคำตอบไว้อย่างไร
                            5. ช่วยให้ผู้วิจัยได้มีหลักฐานอ้างอิงเพื่อสนับสนุนในการอภิปรายผลการวิจัย เมื่อผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยจนได้ข้อสรุปหรือคำตอบให้กับปัญหาแล้ว
                            6. ช่วยสร้างคุณภาพและมาตรฐานเชิงวิชาการให้แก่งานวิจัยนั้น การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนั้นจะต้องประมวลมาเป็นรายงานสรุปใส่ไว้ในรายงานการวิจัย หรือเค้าโครงร่างของการวิจัย จะทำให้รายงานหรือโครงร่างการวิจัยนั้นมีคุณภาพและได้มาตรฐาน
                 การทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วยเป้าหมายหลัก ดังนี้
                            1) การหาความสำคัญของปัญหา
                            2) การหาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ต้องการทำวิจัย
                            3) แสดงความรู้ปัจจุบันที่มีอยู่ และดูว่ามีองค์ความรู้ใดบ้างที่ยังขาดหายไป
                            4) สรุปกรอบแนวคิดที่จะทำวิจัย


อ้างอิง

[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ :  http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:RxpVqFYP7lwJ:sitawan112.blogspot.com/2012/06/blog-post.html  เข้าถึงมื่อ 25/ 11/ 2555

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ :  http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:Hb4TqXwewB0J:th.wikipedia.org เข้าถึงเมื่อ 25/ 11/ 2555

[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ :  http://www.elearning.ns.mahidol.ac.th/km/index.php/research-knowledge-section/67-r2r-category/335-2011-06-28-03-24-36.htmlเข้าถึงเมื่อ25/11/2555


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น