วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

2.ความสำคัญและที่มาของการวิจัย

             อุทัย เอกสะพัง
(http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:Jo6lOwP7aTIJ:www.gotoknow.org/blogs/posts/491771) กล่าวว่า หนึ่งในความสำคัญของมนุษย์ชาติคือการวิจัย เพราะเป็นรากเหง้าของความคิดจินตนาการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่นำพาวิถีชีวิตก้าวไปสู่ความเจริญทางวิทยาการต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความมั่นคงทั้งทางเศรษฐกิจและทางสังคม การวิจัยเกิดมาจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทั้งที่เป็นวัตถุธรรมและนามธรรมชวนให้ผู้สนใจใฝ่รู้ค้นคว้าที่มาที่ไปของสิ่งนั้นๆ การวิจัยยังนำวิถีมนุษย์ให้รู้จักค้นหาในสิ่งที่ต้องการรู้ด้วยความสงสัยในสิ่งแปลกใหม่ จึงก่อเกิดผลที่ตามมาดังที่เราเห็นได้ไม่ว่าจะเป็น เครื่องบิน รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ ยารักษาโรค ปุ๋ยเคมีชีวภาพและเรื่องอื่นๆ มีมายมากที่ได้มาจากการวิจัย การวิจัยนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้า ยิ่งมีการวิจัยค้นคว้ามา ความเจริญก้าวหน้ายิ่งมากขึ้น สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์อาจก่อให้เกิดแก่บุคคลอย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน คือ
                 1. เป็นประโยชน์แก้นักสังคมศาสตร์ ทำให้มีความรู้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่ม นอกจากนั้น ยังทราบถึงเทคนิคและทฤษฎีใหม่ที่ได้จากการศึกษาด้วย
                 2. เป็นประโยชน์แก่ผู้นำชุมชน และผู้ปฏิบัติงานในวิชาชีพต่างๆ เช่น นักบริหาร ครูอาจารย์ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน และผู้บริหารงานในภาครัฐ บุคคลเหล่านี้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยในการปรับปรุงนโยบาย การวางแผน และการปฏิบัติงานของตน
                 3. เป็นประโยชน์แก่บุคคลทั่วไป ก่อให้เกิดความเข้าใจในพลวัต ( Dynamic ) และศักยภาพ ( Potential ) ของกิจกรรมบางอย่างของมนุษย์ และใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความสำเร็จในหน้าที่การงานส่วนตัว และส่วนรวม

http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:WOIRiX7HoacJ:pairach.com/2011/07/26/howto_research_rationale/  กล่าวว่า การเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหางานวิจัยนั้นถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากในการที่จะขายงานวิจัยเราให้กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจจะเป็น ผู้ให้ทุน อาจารย์ที่ปรึกษา หรือ บรรณาธิการของวารสารวิชาการที่เราอยากตีพิมพ์งานของเรา โดยการเขียนให้แต่ละกลุ่มเป้าหมายก็มีความเหมือนและต่างกันออกไปควรคำนึงดังนี้
                1. ควรเริ่มที่ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดขึ้น โดยจะไม่บรรยายความสำพันธ์ของพื้นที่มากนัก แล้วเสนอปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นในเชิงวิชาการ หรือ ในภาคปฏิบัติว่าควรจะเขียนมากน้อยขนาดไหนดี
                              2. ควรจะปิดท้าย (สรุป) ที่มาและความสำคัญจะต้องโน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นด้วยและคล้อยตามเราว่าทำไมเราจึงควรสละเวลาและทรัพยากรต่างๆ ในการทำวิจัยเพื่อหาคำตอบของปัญหาวิจัยนี้และทำให้ผู้อ่านอยากจะอ่านงานวิจัยนี้ต่อไปอีก

จิตราภา (http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:Fc5fNLAjANUJ:www.gotoknow.org/blogs/posts) กล่าวว่า การเขียนความสำคัญและความเป็นมาของการวิจัยเป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้ ข้อค้นพบจากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว นิยมเขียนเน้นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ โดยให้มีความกระชับเข้าใจง่าย การเขียนนำเข้าสู่ปัญหาวิจัยควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว โดยเขียนให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า เวลาปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยในอดีตที่สามารถตอบปัญหาดังกล่าวได้ และปัญหาดังกล่าวสมควรได้รับการแก้ไขด้วยการหาคำตอบโดยกระบวนการวิจัย

สรุป  การเขียนความสำคัญและความเป็นมาของการวิจัยเป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้ ข้อค้นพบจากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว นิยมเขียนเน้นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ โดยให้มีความกระชับเข้าใจง่าย ปัญหาวิจัยควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว โดยเขียนให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า เวลาปัจจุบันยังการเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหางานวิจัยนั้นถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากในการที่จะขายงานวิจัยเราให้กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจจะเป็น ผู้ให้ทุน อาจารย์ที่ปรึกษา หรือ บรรณาธิการของวารสารวิชาการที่เราอยากตีพิมพ์งานของเรา การวิจัยเกิดมาจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทั้งที่เป็นวัตถุธรรมและนามธรรมชวนให้ผู้สนใจใฝ่รู้ค้นคว้าที่มาที่ไปของสิ่งนั้นๆ การวิจัยยังนำวิถีมนุษย์ให้รู้จักค้นหาในสิ่งที่ต้องการรู้ด้วยความสงสัยในสิ่งแปลกใหม่ จึงก่อเกิดผลที่ตามมาดังที่เราเห็นได้ไม่ว่าจะเป็น เครื่องบิน รถยนต์ โทรศัพท์มือถือสำหรับการวิจัยทางควรคำนึงถึง
                  1. ควรเริ่มที่ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดขึ้น โดยจะไม่บรรยายความสำพันธ์ของพื้นที่มากนัก แล้วเสนอปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นในเชิงวิชาการ หรือ ในภาคปฏิบัติว่าควรจะเขียนมากน้อยขนาดไหนดี
                                2. ควรจะปิดท้าย (สรุป) ที่มาและความสำคัญจะต้องโน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นด้วยและคล้อยตามเราว่าทำไมเราจึงควรสละเวลาและทรัพยากรต่างๆ ในการทำวิจัยเพื่อหาคำตอบของปัญหาวิจัยนี้และทำให้ผู้อ่านอยากจะอ่านงานวิจัยนี้ต่อไปอีก

อ้างอิง
อุทัย เอกสะพัง.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:Jo6lOwP7aTIJ:www.gotoknow.org/blogs/posts/491771.  เข้าถึงเมื่อ 7 / 11/ 2555
[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ :  http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:WOIRiX7HoacJ:pairach.com/2011/07/26/howto_research_rationale/. เข้าถึงเมื่อ  7 /11/2555
จิตราภา. [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:Fc5fNLAjANUJ:www.gotoknow.org/blogs/posts เข้าถึงเมื่อ  7 / 11/ 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น