วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

5.วัตถุประสงค์ของการวิจัย

              วรรณี แกมเกตุ ( 2551 : 61 ) กล่าวว่า การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย ควรเขียนในรูปประโยคบอกเล่า โดยขึ้นต้นประโยคด้วยคำว่า เพื่อ แล้วตามด้วยคำที่แสดงพฤติกรรมในการแสวงหาคำตอบและสาระหลักที่ต้องการศึกษา คำบางคำก็ยังกว้างและคลุมเครือ เพราะคำนี้มีความหมายกว้างครอบคลุมพฤติกรรมการศึกษาได้หลายลักษณะ นอกจากนี้ยังมีคำกริยาอื่นๆ ที่แสดงพฤติกรรมในการดำเนินงานของนักวิจัยอีกหลายคำที่มักปรากฏอยู่ในวัตถุประสงค์ของการวิจัยเช่น สำรวจ ประเมิน ค้นคว้า จำแนก วิเคราะห์ ทดลอง เป็นต้น
                             วัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ดีควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
                      1.ต้องมีความสอดคล้องกับชื่อเรื่องและมีความสืบเนื่องจากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
                       2. มีความชัดเจนว่าต้องการศึกษาอะไร
                       3. วัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อ ต้องสามารถศึกษาหาคำตอบได้
                       4. ควรเขียนให้อยู่ในรูปประโยคบอกเล่า
                       5. ควรเป็นข้อความที่สั้น กะทัดรัด และใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
                       6. ควรจัดเรียงวัตถุประสงค์ตามลำดับของการศึกษา หรือเรียงลำดับตามความสำคัญหรือจุดเน้นก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการวิจัยแต่ละเรื่อง


ชูศรี วงศ์รัตนะ (2549 : 18 ) กล่าวว่า เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา ควรเห็นให้ชัดเจนว่าจะศึกษาเรื่องอะไร กับใคร ในแง่มุมใด โดยทั่วไปนิยมเขียนเป็นประโยคบอกเล่าเป็นข้อๆเรียงตามลำดับ หัวใจของการวิจัยอยู่ที่วัตถุประสงค์ของการวิจัยต้องสอดคล้องกับหัวข้อวิจัยส่วนอื่นๆของเค้าโครงวิจัย ตั้งแต่ความสำคัญของการวิจัยนิยามศัพท์เฉพาะ ตลอดจนถึงสถิติที่ใช้ในการวิจัยต้องยึดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นหลัก

องอาจ นัยพัฒน์ (2551 : 43)ได้ให้หลักการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยเชิงปริมาณที่ดีควรคำนึงหลักการสำคัญ ต่อไปนี้
             1. มีความกะทัดรัดชัดเจน
             2. อยู่ในกรอบหรือสอดคล้องกับโจทย์หรือหัวข้อปัญหาการวิจัย
             3. มีความเป็นไปได้จริงในแง่ของการปฏิบัติ
             4. ระบุจุดมุ่งเน้นที่ต้องการสืบค้นหาคำตอบอย่างเฉพาะเจาะจงและไม่มีสาระสำคัญซ้ำซ้อนกัน
             5. มีการเรียงลำดับจุดมุ่งเน้นของการศึกษาวิจัยตามความเกี่ยวข้องอย่างเป็นระดับลดหลั่นกัน
             6. ใช้ถ้อยคำกล่าวพาดพิงถึงประเภท หรือรูปแบบของวิธีการศึกษาวิจัยที่ใช้ในการแสวงหาความรู้ความจริง เช่น การพรรณนา การสำรวจ  การหาความสัมพันธ์ และการทดลอง เพื่ออธิบายและ/หรือทำนายพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ที่สนใจ


สรุป วัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นข้อความที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา ควรเห็นให้ชัดเจนว่าจะศึกษาเรื่องอะไร กับใคร ในแง่มุมใด โดยทั่วไปนิยมเขียนเป็นประโยคบอกเล่าเป็นข้อๆเรียงตามลำดับ หัวใจของการวิจัยอยู่ที่วัตถุประสงค์ของการวิจัยต้องสอดคล้องกับหัวข้อวิจัยส่วนอื่นๆของเค้าโครงวิจัย ตั้งแต่ความสำคัญของการวิจัยนิยามศัพท์เฉพาะ ตลอดจนถึงสถิติที่ใช้ในการวิจัยต้องยึดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นหลัก การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย ควรเขียนในรูปประโยคบอกเล่า โดยขึ้นต้นประโยคด้วยคำว่า เพื่อ แล้วตามด้วยคำที่แสดงพฤติกรรมในการแสวงหาคำตอบและสาระหลักที่ต้องการศึกษา คำบางคำก็ยังกว้างและคลุมเครือ เพราะคำนี้มีความหมายกว้างครอบคลุมพฤติกรรมการศึกษาได้หลายลักษณะ นอกจากนี้ยังมีคำกริยาอื่นๆ ที่แสดงพฤติกรรมในการดำเนินงานของนักวิจัยอีกหลายคำที่มักปรากฏอยู่ในวัตถุประสงค์ของการวิจัยเช่น สำรวจ ประเมิน ค้นคว้า จำแนก วิเคราะห์ ทดลอง เป็นต้น
                               วัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ดีควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
                          1.ต้องมีความสอดคล้องกับชื่อเรื่องและมีความสืบเนื่องจากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
                           2. มีความชัดเจนว่าต้องการศึกษาอะไร
                           3. วัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อ ต้องสามารถศึกษาหาคำตอบได้
                           4. ควรเขียนให้อยู่ในรูปประโยคบอกเล่า
                           5. ควรเป็นข้อความที่สั้น กะทัดรัด และใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
                           6. ควรจัดเรียงวัตถุประสงค์ตามลำดับของการศึกษา หรือเรียงลำดับตามความสำคัญหรือจุดเน้นก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการวิจัยแต่ละเรื่อง
                           7. มีความเป็นไปได้จริงในแง่ของการปฏิบัติ
                           8.ระบุจุดมุ่งเน้นที่ต้องการสืบค้นหาคำตอบอย่างเฉพาะเจาะจงและไม่มีสาระสำคัญซ้ำซ้อน
                           9. มีการเรียงลำดับจุดมุ่งเน้นของการศึกษาวิจัยตามความเกี่ยวข้องอย่างเป็นระดับ

  

อ้างอิง

วรรณี แกมเกตุ.(2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูศรี วงศ์รัตนะ.(2549). เทคนิคการเขียนเค้าโครงการวิจัย : แนวทางสู่ความสำเร็จ. นนทบุรี : ไทยเนรมิต.
องอาจ นัยพัฒน์. (2551).วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สามลดา.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น