วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

7.กรอบแนวความคิดในการวิจัย


พัชรา (https://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:c17scXjTyKIJ:www.ajarnpat.com/data/document_study02.) กล่าวว่า กรอบแนวคิดการวิจัย  หมายถึง  กรอบของการวิจัยในด้านเนื้อหาสาระ  ซึ่งประกอบด้วยตัวแปร  และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร  ในการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย  ผู้วิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาและมโนภาพ(concept)ในเรื่องนั้น  แล้วนำมาประมวลเป็นกรอบในการกำหนดตัวแปรและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ  ในลักษณะของกรอบแนวคิดการวิจัยและพัฒนาเป็นแบบจำลองในการวิจัยต่อไป

                            แหล่งที่มาของกรอบแนวคิดการวิจัย

                       1.   ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  เพื่อให้ได้มาซึ่งกรอบแนวคิดที่รัดกุม มีเหตุมีผล ผู้วิจัยควรอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษา
                       2.  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  หมายถึง งานวิจัยที่ผู้อื่นได้ทำมาแล้วมีประเด็นตรงกับประเด็นที่เราต้องการศึกษา หรือมีเนื้อหา หรือตัวแปรบางตัวที่ต้องการศึกษารวมอยู่ด้วย
                       3.  กรอบแนวคิดของผู้วิจัยเองที่สังเคราะห์ขึ้นเอง นอกจากการศึกษาผลงานวิจัยและทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้องแล้ว กรอบแนวคิดยังจะได้มาจากความคิดและประสบการณ์การทำงานของผู้วิจัยเองอีกด้วย

                           หลักการเลือกและประโยชน์ของกรอบแนวคิดในการวิจัย

            กรอบแนวคิดที่ดีควรจะเป็นกรอบแนวคิดที่ตรงประเด็นในด้านเนื้อหาสาระตัวแปรที่ต้องการศึกษา  มีความสอดคล้องกับความสนใจในเรื่องที่วิจัย  มีความง่ายและไม่สลับซับซ้อนมาก  และควรมีประโยชน์ในเชิงนโยบายหรือการพัฒนาสังคม
            กรอบแนวคิดที่จะนำมาใช้ในการวิจัยจะมีประโยชน์ต่อการดำเนินการวิจัยขั้นต่อๆ ไป  โดยเฉพาะในขั้นการรวบรวมข้อมูล  ขั้นการออกแบบการวิจัย  ขั้นการวิเคราะห์  และการตีความหมายผลการวิเคราะห์

                           หลักเกณฑ์ในการเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย
                      1.  ตัวแปรแต่ละตัวที่เลือกมาศึกษา หรือที่นำเสนอไว้ในกรอบแนวคิดในการวิจัยต้องมีพื้นฐานเชิงทฤษฏีว่ามีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการศึกษา
                      2. มีความตรงประเด็นในด้านเนื้อหาสาระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านตัวแปรอิสระหรือตัวแปรที่ใช้ควบคุม
                      3. มีรูปแบบสอดคล้องกับความสนใจ หรือ วัตถุประสงค์ของการวิจัย
                      4. ระบุรายละเอียดของตัวแปรและหรือสามารถแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรได้ชัดเจนด้วยสัญลักษณ์หรือแผนภาพ
                            ประโยชน์ของกรอบแนวคิด
                      1. สามารถเข้าใจแนวคิดสำคัญที่แสดงถึงแก่นของปัญหาการศึกษาในระยะเวลาอันสั้น
                    2. เป็นตัวชี้นำทำให้ผู้วิจัยเกิดความมั่นใจว่างานวิจัยเป็นไปในแนวทางที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
                    3. สร้างความชัดเจนในงานวิจัยว่าจะสามารถตอบคำถามที่ศึกษาได้
                    4. เป็นแนวทางในการกำหนดความหมายตัวแปร การสร้างเครื่องมือ และการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย
                    5. สามารถเชื่อมโยงไปสู่การกำหนดกรอบทิศทางการทำวิจัยได้เหมาะสม ถูกต้อง โดยเฉพาะวิเคราะห์ข้อมูล


http://www.drmanage.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538654696 กล่าวว่า
กรอบแนวคิดการวิจัย เป็นการสังเคราะห์หรือบูรณาการแนวคิด ทฤษฎี หลักการตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยที่ผู้วิจัยได้นำมาพัฒนาขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในการวิจัยเรื่องนั้นโดยตรง จุดมุ่งหมายหลักของการสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องก็คือ การพัฒนามาเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย” (conceptual research framework) หรือ ตัวแบบของการวิจัย” (research model) ซึ่งในกรอบแนวคิดหรือตัวแบบของการวิจัยนี้ จะเป็นการพัฒนาขึ้นมาโดยอาศัยเหตุผลเชิงตรรกะ โดยมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ๆ ทั้งหมดที่ต้องการศึกษาอย่างเป็นระบบและมีเหตุมีผลรองรับทางวิชาการ ทั้งนี้การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยควรนำมาจากองค์ความรู้ในพาราไดม์ปัจจุบันของศาสตร์นั้น

การนำเสนอกรอบแนวคิดการวิจัยที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปร จะทำให้ผู้วิจัยสามารถสรุปให้เห็นถึงสมมติฐานการวิจัยทั้งหมดที่ต้องการทดสอบ โดยที่สมมติฐานการวิจัยจะนำมาจากกรอบแนวคิดการวิจัยนั่นเอง อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งที่เรามักพบว่างานวิจัยขาดคุณภาพในประเด็นที่ว่ามีการกำหนดสมมติฐานการวิจัย แต่ไม่สามารถบอกถึงที่มาได้ว่าได้มาจาก ตัวแปรของแนวคิด ทฤษฎีใด อยากจะเขียนสมมติฐานอะไรขึ้นมาเพื่อจะทำการทดสอบก็ได้ โดยไม่รู้ว่าสมมติฐานมาจากที่ใดมีเหตุผลใดรองรับหรือไม่ เช่น เพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อการปฏิรูประบบราชการแตกต่างกัน ซึ่งสมมติฐานเช่นนี้ไม่ได้มีการนำผลการทบทวนวรรณกรรมมาใช้เลย เป็นต้น นอกจากนี้แล้วตัวแปรต่าง ๆ ก็นำมาเชื่อมโยงก็ขาดการเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎี ด้วยเหตุนี้ในการนำเสนอรายงานวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องที่ดี ควรที่จะมีการนำเสนอกรอบแนวคิดการวิจัย และสมมติฐานการวิจัยที่มีรากฐานหรืออนุมานมาจากแนวคิด ทฤษฎี (hypothetical deductive) ที่กำหนดไว้ในกรอบแนวคิดการวิจัย



ประคอง สาธรรม (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/399800) กล่าวว่า การเขียนกรอบความคิดการวิจัย เป็นเรื่องยุ่งยากและเป็นปัญหามากสำหรับนักวิจัยมือใหม่ เพราะจะเกิดความสับสน แม้ว่าจะได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาแล้วก็ตาม เพราะในงานวิจัยแต่ละเล่มก็จะเขียนกรอบความคิดการวิจัยไว้หลากหลายรูปแบบ วันนี้จึงได้รวบรวมหลักการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัยที่ผู้ทรงคุณวุฒด้านนี้ท่านได้เขียนไว้มาฝาก จะได้เขียนกรอบความคิดการวิจัยได้อย่างมั่นใจ
                             หลักการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย
                สิน พันธุ์พินิจ กล่าวว่า การเขียนโครงการวิจัย ต้องเขียนกรอบแนวคิดการวิจัยให้ชัดเจน กรอบแนวคิดเป็นความคิดรวบยอดของการวิจัยที่สรุปมาจากแนวคิดทฤษฎี ต้องชี้ให้เห็นว่ามีกรอบที่ศึกษาตัวแปรอะไรบ้าง อะไรเป็นตัวแปรอิสระ อะไรเป็นตัวแปรตาม และจะศึกษาความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์ เมื่อเขียนแนวคิดเชิงพรรณาแล้วอาจลองเขียนกรอบแนวคิดการวิจัยให้เป็นรูปธรรมด้วย
                    รัตนะ บัวสนธ์  อธิบายไว้ว่า กรอบความคิดการวิจัยนั้น ก็คือ กรอบเชิงทฤษฎีที่ลดรูปลงมาเพื่อใช้สำหรับการวิจัยเรื่องนั้นๆนั่นเอง กล่าวคือ ในขณะที่กรอบเชิงทฤษฎีนั้นได้แสดงให้เห็นถึงปัจจัย หรือความสัมพันธ์ของปัจจัย หรือตัวแปรทั้งหมดที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับปัจจัย หรือตัวแปรตาม หรือปรากฏการณ์ที่นักวิจัยต้องการศึกษา ซึ่งปัจจัยหรือตัวแปรที่กล่าวนี้มาจากทฤษฎีแนวคิดและผลงานวิจัยต่างๆ แต่เมื่อจะดำเนินงานวิจัยนักวิจัยได้ปรับลดตัวแปรบางตัวลง หรือทำให้ตัวแปรบางตัวคงที่ แล้วปรับกรอบเชิงทฤษฎีใหม่ จะได้เป็นกรอบความคิดการวิจัยเพื่อใช้สำหรับการวิจัยเรื่องนั้นเท่านั้น หากเปลี่ยนเรื่องดำเนินการวิจัยใหม่ โดยใช้กรอบเชิงทฤษฎีอื่นก็ต้องสร้างกรอบความคิดการวิจัยใหม่อีกเช่นกัน
                   บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์  กล่าวว่า กรอบแนวคิดการวิจัย เป็นภาพพจน์ที่เป็นแนวคิดในการวิจัยเรื่องนั้น การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย จะต้องเริ่มจากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ประเด็นปัญหา กำหนดปัญหาการวิจัยให้ชัดเจน และหาแนวทางการค้นหาคำตอบ จากนั้นประมวลเป็นกรอบแนวคิดการวิจัยเรื่องนั้น จึงต้องทำความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้
                                            1. ปัญหาหลักที่ต้องการวิจัยคืออะไร และอะไรเป็นปัญหาที่ต้องการทราบกันแน่
                                            2. อะไรเป็นตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ ตัวแปรแทรกและตัวแปรควบคุม ตัวแปรต่างๆที่นำมาศึกษามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
                                            3. ข้อมูลที่จะใช้ในการวิจัยเรื่องนั้นมีอะไรบ้าง แหล่งข้อมูลอยู่ที่ไหนและจะเก็บรวบรวมมาได้อย่างไร
                                            4. การหาคำตอบในการวิจัยนั้น สามารถใช้ระเบียบวิธีวิจัย หรือแบบการวิจัย(research design) ในลักษณะใดได้บ้าง และจะเลือกใช้การวิจัยแบบใด ทำไมจึงเลือกแบบนั้น
                                           5. มีแนวคิดและทฤษฎีอะไรบ้างที่สนับสนุนการวิจัยในปัญหานี้
                                           6. มีข้อตกลงเบื้องต้นในการทำวิจัยเรื่องนี้หรือไม่ มีอย่างไรบ้าง
               สุวิมล ว่องวาณิช กล่าวว่า การนำเสนอกรอบความคิดการวิจัย ควรนำเสนอในบทที่ 2 ของรายงานการวิจัย เพราะต้องเสนอกรอบความคิดซึ่งเป็นผลจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง แต่ที่พบโดยทั่วไป มักจะพบว่ามีการนำเสนอกรอบความคิดของการวิจัยในบทที่ 1 ซึ่งไม่ค่อยเหมาะสม เนื่องจากข้อมูลที่นำเสนอในบทที่ 1อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้อ่านหรือแม้แต่นักวิจัยเองเข้าใจภาพรวมของผลการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ดังนั้น กรอบความคิดการวิจัยที่นำเสนออาจจะทำให้เกิดความสงสัยในเรื่องของแนวเหตุผลในการกำหนดตัวแปรมาศึกษา เพราะความรู้ที่รองรับยังนำเสนอไม่เพียงพอ


สรุป  กรอบแนวคิดการวิจัย  หมายถึง  กรอบของการวิจัยในด้านเนื้อหาสาระ  ซึ่งประกอบด้วยตัวแปร  และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร  ในการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย  ผู้วิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาและมโนภาพ(concept)ในเรื่องนั้น  แล้วนำมาประมวลเป็นกรอบในการกำหนดตัวแปรและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ  ในลักษณะของกรอบแนวคิดการวิจัยและพัฒนาเป็นแบบจำลองในการวิจัยต่อไป ซึ่งในกรอบแนวคิดหรือตัวแบบของการวิจัยนี้ จะเป็นการพัฒนาขึ้นมาโดยอาศัยเหตุผลเชิงตรรกะ โดยมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมดที่ต้องการศึกษาอย่างเป็นระบบและมีเหตุมีผลรองรับทางวิชาการ โดยที่สมมติฐานการวิจัยจะนำมาจากกรอบแนวคิดการวิจัยนั่นเอง การเขียนกรอบความคิดการวิจัย จึงเป็นเรื่องยุ่งยากและเป็นปัญหามากสำหรับนักวิจัยมือใหม่ เพราะจะเกิดความสับสน แม้ว่าจะได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาแล้วก็ตาม เพราะในงานวิจัยแต่ละเล่มก็จะเขียนกรอบความคิดการวิจัยไว้หลากหลายรูปแบบ วันนี้จึงได้รวบรวมหลักการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัยที่ผู้ทรงคุณวุฒด้านนี้ท่านได้เขียนไว้มาฝาก จะได้เขียนกรอบความคิดการวิจัยได้อย่างมั่นใจ

                               แหล่งที่มาของกรอบแนวคิดการวิจัย

                        1. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  เพื่อให้ได้มาซึ่งกรอบแนวคิดที่รัดกุม มีเหตุมีผล ผู้วิจัยควรอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษา
                               2. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  หมายถึง งานวิจัยที่ผู้อื่นได้ทำมาแล้วมีประเด็นตรงกับประเด็นที่เราต้องการศึกษา หรือมีเนื้อหา หรือตัวแปรบางตัวที่ต้องการศึกษารวมอยู่ด้วย
                                3. กรอบแนวคิดของผู้วิจัยเองที่สังเคราะห์ขึ้นเอง นอกจากการศึกษาผลงานวิจัยและทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้องแล้ว กรอบแนวคิดยังจะได้มาจากความคิดและประสบการณ์การทำงานของผู้วิจัยเองอีกด้วย
                               หลักเกณฑ์ในการเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย
                1.  ตัวแปรแต่ละตัวที่เลือกมาศึกษา หรือที่นำเสนอไว้ในกรอบแนวคิดในการวิจัยต้องมีพื้นฐานเชิงทฤษฏีว่ามีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการศึกษา
                2. มีความตรงประเด็นในด้านเนื้อหาสาระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านตัวแปรอิสระหรือตัวแปรที่ใช้ควบคุม
                 3.  มีรูปแบบสอดคล้องกับความสนใจ หรือ วัตถุประสงค์ของการวิจัย
                 4. ระบุรายละเอียดของตัวแปรและหรือสามารถแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรได้ชัดเจนด้วยสัญลักษณ์หรือแผนภาพ
                               ประโยชน์ของกรอบแนวคิด
                 1. สามารถเข้าใจแนวคิดสำคัญที่แสดงถึงแก่นของปัญหาการศึกษาในระยะเวลาอันสั้น
                2. เป็นตัวชี้นำทำให้ผู้วิจัยเกิดความมั่นใจว่างานวิจัยเป็นไปในแนวทางที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
               3. สร้างความชัดเจนในงานวิจัยว่าจะสามารถตอบคำถามที่ศึกษาได้
               4. เป็นแนวทางในการกำหนดความหมายตัวแปร การสร้างเครื่องมือ และการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย
               5. สามารถเชื่อมโยงไปสู่การกำหนดกรอบทิศทางการทำวิจัยได้เหมาะสม ถูกต้อง โดยเฉพาะวิเคราะห์ข้อมูล


อ้างอิง
พัรา.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : https://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:c17scXjTyKIJ:www.ajarnpat.com/data/document_study02. เข้าถึงเมื่อ 25/ 11/ 2555

[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://www.drmanage.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538654696  เข้าถึงเมื่อ 25/ 11/ 2555

ประคอง สาธรรม.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/399800 เข้าถึงเมื่อ 25/ 11/ 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น