วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

4.คำถามของการวิจัย


ประคอง สาธรรม (http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:O9vDWGUzMWIJ:www.gotoknow.org/blogs/posts/399427) กล่าวว่า ตัวผู้รวบรวมเองทราบว่าคำถามวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นที่มีความสำคัญในการที่จะทำวิจัยสักเรื่องหนึ่ง แต่จะมีปัญหาสงสัยไม่รู้ว่าจะตั้งคำถามวิจัยอย่างไร มีวิธีการเขียนที่ชัดเจนอย่างไร วันนี้ได้รวบรวมเนื้อหาจากตำราของอาจารย์ 3 ท่าน คือ

สุวิมล ว่องวาณิช  และ นงลักษณ์ วิรัชชัย ได้อธิบายความหมายไว้ว่า คำถามวิจัย(Research Questions) หมายถึง ข้อความที่เป็นประโยคคำถามซึ่งแสดงให้เห็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการค้นหาคำตอบคำถามวิจัยและประเด็นวิจัย(Research Issues) มีความคล้ายคลึงกัน เช่น ผู้สนใจศึกษาประเด็นวิจัยเกี่ยวกับ  รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ผู้อ่านอาจคาดเดาว่าสิ่งที่ผู้วิจัยสนใจ คือการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือการวิเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่ปรากฏอยู่ทั่วไป แต่หากปรับเป็นคำถามวิจัยจะทำให้เกิดความชัดเจนในประเด็นที่ศึกษามากขึ้น

อาทิวรรณ โชติพฤกษ์  กล่าวว่า การตั้งคำถามเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะคำถามวิจัยที่ผู้วิจัยตั้งขึ้นบ่งบอกให้ทราบถึงประเด็นที่ผู้วิจัยต้องการทราบหรือทำความเข้าใจในเรื่องที่เลือกเป็นหัวข้อวิจัยนั้นๆ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้วิจัยประเมินว่าต้องทำงานวิจัยอย่างไรและในทิศทางใด จึงจะนำไปสู่คำตอบของคำถามนั้นๆ ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจเริ่มตั้งคำถามด้วยวลีคำถาม เช่น อะไร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร กับใคร เมื่อรวบรวมคำถามที่ตั้งขึ้นมาแล้ว ควรจัดกลุ่มของคำถาม และมุ่งความสนใจไปยังคำถามที่ขึ้นต้นด้วยทำไม หรืออย่างไร และพิจารณาว่าคำถามไหนที่ผู้วิจัยสนใจและอยากรู้คำตอบที่สุดคำถามนั้นจะเป็นคำถามสำหรับงานวิจัยของผู้วิจัย


http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:TVTHNCYO3bYJ:www.gotoknow.org/blogs/posts/462268 กล่าวว่า คำถามการวิจัย คือข้อความที่เป็นประโยคคำถาม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการค้นคว้าหาคำตอบ ทั้งนี้คำถามการวิจัยควรเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ หรือไม่สามารถหาคำตอบได้จากตำรา หรือความรู้เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว และนอกจากนี้คำถามการวิจัยยังเป็นสิ่งที่นักวิจัยมุ่งหวังที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหา ซึ่งคำถามจะสามารถทำให้นักวิจัยสามารถเห็นแนวทางทางเลือกของข้อมูลที่จะเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ ก่อนที่จะเริ่มต้นการเขียนโครงร่างการวิจัย

                http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:KKkhlsvcq5YJ:www.thaihowabout.com  กล่าวว่า คำถามวิจัยเป็นการสร้างงานวิทยานิพนธ์สำหรับงานวิจัยเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาจุดหลักและความเห็นของผู้เขียน บทความนี้จะให้ขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีการพัฒนาวิทยานิพนธ์สำหรับงานวิจัย
                               1.  มุ่งเน้นไปที่เหตุผลหลัก ว่าทำอะไรในหัวข้อที่ต้องการจะพิสูจน์ ให้แน่ใจว่ามีอย่างน้อยหนึ่งคำถาม  (ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำไม) 
                               2.  ถามตัวเอง ว่าวิทยานิพนธ์จะตอบคำถามการวิจัยหรือไม่ ถ้าไม่ตอบจะต้องปรับให้เหมาะสมกับขอบเขตของการวิจัย
                              
3. การเขียนวิทยานิพนธ์ที่ดีเป็นการแสดงออกถึงความคิดหลัก แนวคิดหลักคือสิ่งที่พูดเกี่ยวกับหัวข้อที่ในความเป็นจริงตอบคำถามการวิจัย
                              4. อ่านวิทยานิพนธ์ผ่านๆ และตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าการบรรยายวิทยานิพนธ์เป็นสิ่งที่สามารถวิจัยได้ กล่าวคือไม่กว้างเกินไปหรือแคบเกินไป      
                              5. ตรวจสอบให้แน่ใจว่า การบรรยายวิทยานิพนธ์ จะสะท้อนให้เห็นถึงความจริงอย่างถูกต้อง และบางสิ่งที่จะขัดแย้งหรือไม่จะเชื่อในภายหลัง




 สรุป คำถามวิจัย ข้อความที่เป็นประโยคคำถามซึ่งแสดงให้เห็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการค้นหาคำตอบคำถามวิจัยและประเด็นวิจัยมีความคล้ายคลึงกัน  ผู้อ่านอาจคาดเดาว่าสิ่งที่ผู้วิจัยสนใจ การตั้งคำถามเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะคำถามวิจัยที่ผู้วิจัยตั้งขึ้นบ่งบอกให้ทราบถึงประเด็นที่ผู้วิจัยต้องการทราบหรือทำความเข้าใจในเรื่องที่เลือกเป็นหัวข้อวิจัยนั้นๆ ทั้งนี้คำถามการวิจัยควรเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ หรือไม่สามารถหาคำตอบได้จากตำรา หรือความรู้เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว และนอกจากนี้คำถามการวิจัยยังเป็นสิ่งที่นักวิจัยมุ่งหวังที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหา ซึ่งคำถามจะสามารถทำให้นักวิจัยสามารถเห็นแนวทางทางเลือกของข้อมูลที่จะเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ ก่อนที่จะเริ่มต้นการเขียนโครงร่างการวิจัย อีกทั้งยังช่วยให้ผู้วิจัยประเมินว่าต้องทำงานวิจัยอย่างไรและในทิศทางใด จึงจะนำไปสู่คำตอบของคำถามนั้นๆ ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจเริ่มตั้งคำถามด้วยวลีคำถาม เช่น อะไร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร กับใคร เมื่อรวบรวมคำถามที่ตั้งขึ้นมาแล้ว ควรจัดกลุ่มของคำถาม และมุ่งความสนใจไปยังคำถามที่ขึ้นต้นด้วยทำไม หรืออย่างไร และพิจารณาว่าคำถามไหนที่ผู้วิจัยสนใจและอยากรู้คำตอบที่สุดคำถามนั้นจะเป็นคำถามสำหรับงานวิจัยของผู้วิจัย คำถามวิจัยเป็นการสร้างงานวิทยานิพนธ์สำหรับงานวิจัยเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาจุดหลักและความเห็นของผู้เขียน ดังนี้
                      1.มุ่งเน้นไปที่เหตุผลหลัก ว่าทำอะไรในหัวข้อที่ต้องการจะพิสูจน์ ให้แน่ใจว่ามีอย่างน้อยหนึ่งคำถาม  (ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำไม)  
            2. ถามตัวเอง ว่าวิทยานิพนธ์จะตอบคำถามการวิจัยหรือไม่ ถ้าไม่ตอบจะต้องปรับให้เหมาะสมกับขอบเขตของการวิจัย
                          3
. การเขียนวิทยานิพนธ์ที่ดีเป็นการแสดงออกถึงความคิดหลัก แนวคิดหลักคือสิ่งที่พูดเกี่ยวกับหัวข้อที่ในความเป็นจริงตอบคำถามการวิจัย
                          4. อ่านวิทยานิพนธ์ผ่านๆ และตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าการบรรยายวิทยานิพนธ์เป็นสิ่งที่สามารถวิจัยได้ กล่าวคือไม่กว้างเกินไปหรือแคบเกินไป                                                
.                                                      
            5. ตรวจสอบให้แน่ใจว่า การบรรยายวิทยานิพนธ์ จะสะท้อนให้เห็นถึงความจริงอย่างถูกต้อง และบางสิ่งที่จะขัดแย้งหรือไม่จะเชื่อในภายหลัง

 
อ้างอิง

ประคอง สาธรรม.[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ :  http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:O9vDWGUzMWIJ:www.gotoknow.org/blogs/posts/399427 เข้าถึงเมื่อ 25/ 11/ 2555

[ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ :  http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:TVTHNCYO3bYJ:www.gotoknow.org/blogs/posts/462268  เข้าถึงเมื่อ 25/ 11/ 2555

                [ออนไลน์] ชื่อเว็บไซต์ :  http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:KKkhlsvcq5YJ:www.thaihowabout.com  เข้าถึงเมื่อ 25/ 11/ 2555


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น